The รูปแบบการสอนรายวันเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความมีวินัยนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษาตามแนวคิดการสร้างวินัยเชิงบวกด้วยพหุวิธี

ผู้แต่ง

  • สุชาติ ทั่งสถิรสิมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนรายวัน, วินัย, พฤติกรรมความมีวินัย, วินัยเชิงบวก, ประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาและหาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนรายวัน เพื่อพัฒนาพฤติกรรมความมีวินัยนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษาตามแนวคิดการสร้างวินัยเชิงบวก ด้วยพหุวิธี  การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนารูปแบบการสอน   และระยะที่ 2 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอน โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1              ปีการศึกษา 2560  จำนวน 43 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนรายวันเพื่อพัฒนาพฤติกรรมความมีวินัยนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา ตามแนวคิดการสร้างวินัยเชิงบวกด้วยพหุวิธี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบคือ  (1) หลักการ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน      ของรูปแบบการสอน (2)  วัตถุประสงค์ (3)  กิจกรรมการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ประเด็นปัญหา  ขั้นที่ 2 พิจารณาตัวแบบที่ดี ขั้นที่  3 ร่วมกำหนดวิธีแก้ไขและทดลองปฏิบัติ  ขั้นที่ 4  แสดงพฤติกรรมตามสถานการณ์และเสริมแรงจูงใจ ขั้นที่ 5 สะท้อนผลวินัยและประเมินความสำเร็จ  (4)  บทบาทผู้สอนและผู้เรียน (5) สิ่งสนับสนุน (6)  แนวทางการวัดและประเมินผล      2) รูปแบบการสอนสามารถพัฒนาพฤติกรรมความมีวินัยของนักเรียนได้โดย นักเรียนพฤติกรรมความมีวินัยผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือจำนวนนักเรียนที่ผ่านกระบวนการสอนของรูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นโดยร้อยละของนักเรียนที่มีคุณภาพพฤติกรรมความมีวินัยตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป 6 ด้าน คือ ร้อยละ  97.67  100  100  100  100  และ 95.35   ตามลำดับ และจากการสังเกตและวิเคราะห์ข้อมูลการสะท้อนผลพบว่า นักเรียนมีทักษะและพฤติกรรมความมีวินัยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดกิจกรรมการสอนในแต่ละวัน

 

References

1. ภาษาไทย
(1) หนังสือ :
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). วินัย : เรื่องใหญ่กว่าที่คิด. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.]
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง). (2559).
สรุปผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาประจำปีการศึกษา 2559.
ขอนแก่น : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (มอดินแดง).
(เอกสารอัดสำเนา).
ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). คนไทยในอุดมคติ. กรุงเทพฯ : บริษัท เอส เอ็ม เอ ธุรกิจและการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559) แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133
ตอนที่ 115 ก.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2548). สร้างวินัยให้ลูกคุณ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ซันต้าการพิมพ์.
เฮซเดนิส. (2545). หลักการพื้นฐานการสอนระดับประถม.กรุงเทพฯ: สถาบันการแปลหนังสือ
กรมวิชาการ.
(2) วิทยานิพนธ์ /รายงานการวิจัย :
ฐิติพร กรัยวิเชียร. (2555). การพัฒนามโนทัศน์ของครูด้านการใช้โปรไฟล์นักเรียนเพื่อการ
ทำวิจัยโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนผล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎี
บัณฑิต สาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย มั่นพลศรี. (2558).การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างพฤติกรรมประชาธิปไตยสำหรับ
นักเรียนระดับประถมศึกษา โดยการมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านท่าวัด.
วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยหลักสูตรและการสอน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
วีณา ประชากูล. (2549). การพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยของนักเรียน
ระดับประถมศึกษา. รายงานการวิจัยเสนอต่อศูนย์วิจัยและพัฒนาแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
สายันต์ โพธิ์เกตุ. (2555).การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บวิชาฟิสิกส์ที่ส่งเสริม
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31