การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สมยศ ปัญญามาก ตำรวจภูธรภาค 5

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารจัดการที่ดี องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา และสถานภาพการทำงาน 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ  การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 394 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพการทำงาน มีความคิดเห็นต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐาน 3) แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารควรมีกลไกควบคุมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำตามข้อบังคับที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ผู้บริหารต้องทำงานโดยไม่เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจครอบครัวหรือเครือญาติและพวกพ้องของตนเอง ต้องมีกลไกตรวจสอบ เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารได้ และให้บริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ให้มีประโยชน์มากที่สุด

References

ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์. (2543). “กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดี” การปกครองที่ดี (Good
Governance).กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
นันทพล พงศธรวิสุทธิ์.(2548) บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย : แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
ประสาน มฤคพิทักษ์. (2541). แท้ที่จริงธรรมรัฐ คือ การสร้างความดีงามร่วมกัน. กรุงเทพฯ : มติชน.
อุบล ยะไวทย์ณะวิชัย (2553) การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดเชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารศาสตร์ สำนักบริการและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
พิศสุภางค์ สุขสัน. (2558). การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหาร ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. สารนิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว, งานนโยบายแผน ปี 2560 6 มิถุนายน 2559 (อัดสำเนา)
ทะเบียนราษฏร์, สำนักงาน. “ฝ่ายทะเบียนราษฏร์อำเภอแม่ริม” เชียงใหม่ : อำเภอแม่ริม, 2559. (อัดสำเนา).

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31