การบริหารงานนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
: การบริหารงานนิเทศภายในบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น ใน 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการบริหารงานทั่วไป และเปรียบเทียบการบริหารงานนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้ง 4 ด้าน จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 570 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่ามีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูล แล้วใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA : F-test)
ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารงานนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เปรียบเทียบระดับการบริหารงานนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพ และขนาดของสถานศึกษา พบว่า ด้านงานวิชาการและด้านงานบุคคล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านงานงบประมาณ และด้านบริหารงานทั่วไป ไม่แตกต่างกัน
References
เยาวพา เตชะคุปต์,(254), การบริหารและนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.
อัญชลี เอื้อสุขนุกูล, (2550) , คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน . กรุงเทพฯ : ธาราอักษรการพิมพ์.
ชญากาญจธ์ ศรีเนตร.(2558). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25, ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วารุณีย์ วงศ์สีชา.(2557). การนิเทศภายในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3,ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยราชภัฏอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.