THE DEVELOPMENT OF CULTURAL COMPETENCE MODEL OF PERSONNEL IN THE NORTHEAST BORDER SCHOOL

ผู้แต่ง

  • นางสาวเฟื่องฟ้า กัญญาบัตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ (Mixed Method) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนชายแดน จำนวน 320 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระยะที่ 2 ประเมินรูปแบบในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์

ผลการวิจัยพบว่า

องค์ประกอบของสมรรถนะทางวัฒนธรรมมี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ความตระหนักทางวัฒนธรรม 2) ความรู้ทางวัฒนธรรม 3) ทักษะทางวัฒนธรรม และ 4) ปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคลากรโรงเรียนชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ชื่อ หลักการและแนวคิดพื้นฐานของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ลักษณะของรูปแบบ และวิธีการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพตามรูปแบบ

 

คำสำคัญ: รูปแบบการพัฒนา// สมรรถนะทางวัฒนธรรม// โรงเรียนชายแดน

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31