The รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล
คำสำคัญ:
ตัวบ่งชี้,ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรม,โรงเรียนมาตรฐานสากลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับของภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล 2. ประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล วิธีการและขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกด้วยวิธีการเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 380 คน ระยะที่ 2 ด้วยวิธีการเชิงคุณภาพเพื่อให้ได้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล ที่มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ เป็นประโยชน์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน
ผลการวิจัย ระดับภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อยรายองค์ประกอบดังนี้ การสื่อสาร ( = 4.24) การเอาใจใส่ ( = 4.24 ) การจัดการความขัดแย้ง ( = 4.22) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( = 4.21) และ ความไว้วางใจ ( = 4. 16) ตามลำดับ สำหรับรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลภาพรวม ประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และ ความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
คำสำคัญ : ตัวบ่งชี้,ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรม,โรงเรียนมาตรฐานสากล
References
มืออาชีพ.คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ : 23 ฉบับที่ : 2
หน้า 1-10.
มัญชรี โชติรสฐิติ(2556).การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในต่างประเทศ.ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารประยุกต์ คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิต
พัฒนบริหารศาสตร์.
พรรณปพร จันทร์ฉาย. (2556). เอกสารประกอบการ สอนรายวิชา การบริหารวัฒนธรรมข้ามชาติ
(Cross-Cultural Management). โรงเรียน การท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัย ราชภัฎสวนดุสิต.
ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ.(2554).การบริหารวัฒนธรรมข้ามชาติขององค์กรธุรกิจระหว่างประเทศที่
ดำเนินการในประเทศไทยและเวียดนาม.วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุทัย ดุลยเกษม. (2551). ความแตกต่างทางวัฒนธรรม: ผลกระทบและข้อคิดในการจัดการข้าม
วัฒนธรรม. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้.
Grisham, T. (2006). Cross cultural Leadership.Professional Doctorate, Property, Construction and Project Management, RMIT University.
Keeves, J.P. (1997).Models and model building. In Keeves, J.P. (ed.). Educational research,
methodology and measurement : An International Handbook. 2nd ed., Oxford : Peraman Press
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.