คุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : คุณธรรมจริยธรรม, นักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ประชากร โดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาระดับปริญญาภาคปกติ ของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวนทั้งสิ้น 617 รูป/คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากประชากรแยกตามคณะต่างๆ จากการเปิดตารางสำเร็จรูปในการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ (Yamane, 1967) รวม 3 คณะ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 243 รูป/คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- 1. ผลการศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความมีวินัย 2) ด้านความรับผิดชอบ 3) ด้านความซื่อสัตย์สุจริต 4) ด้านความเสียสละ 5) ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี 6) ด้านการเข้าใจผู้อื่น 7) ด้านการเข้าใจโลก พบว่า ในภาพรวมนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ได้มีคุณธรรมจริยธรรมในระดับมาก โดยเฉพาะในด้านการเข้าใจผู้อื่น ด้านความซื่อสัตย์สุจริต การเข้าใจโลก การเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านความรับผิดชอบ และด้านความมีวินัย ตามลำดับ
2. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะต่อคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน พบว่า ข้อเสนอแนะต่อคุณธรรมธรรมจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 1) ด้านความมีวินัยที่มีความถี่สูงสุดคือ ควรมีวินัยด้วยการเคารพกฎหมาย 2) ด้านความรับผิดชอบที่มีความถี่สูงสุดคือ มีความกระตือรือร้นในหน้าที่ตามความรับผิดชอบ 3) ด้านความซื่อสัตย์สุจริตที่มีความถี่สูงสุดคือมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 4) ด้านความเสียสละที่มีความถี่สูงสุดคือ รู้จักแบ่งปันมีน้ำใจไมตรีต่อกัน 5) ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดีที่มีความถี่สูงสุดคือ แต่งกายด้วยความเหมาะสม 6) ด้านการเข้าใจคนอื่นที่มีความถี่สูงสุดคือ ยอมรับและรับฟังเสียงส่วนใหญ่ 7) ด้านการเข้าใจโลกที่มีความถี่สูงสุดคือ ปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้
References
กรมวิชาการ. (2544). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของเยาวชนด้านจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพ์กรมศาสนา
ชุษณา ก้อนจันเทศ. (2561). ความเข้าใจผู้อื่น. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2561. จาก
https://pirun.ku.ac.th
ดลใจ ถาวรวงศ์ ตันเจริญ และจันทร์ชลี มาพุทธ. (2552). กระบวนการขัดเกลาทางสังคมที่มีผลต่อ คุณธรรมจริยธรรมของ เยาวชนต้นแบบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการศึกษาและ พัฒนา
สังคม5,1-2: 21-34.
นภดล เทียนเพิ่มพูน. (2546). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจ.
วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยาชภัฏนครปฐม.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2546). เทคนิคการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์. กรุงเทพมหานคร : บุ๊ค พอยท์.
ฝ่ายทะเบียนและวัดผล. (2561). ข้อมูลนักศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน,
ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561. ข้อมูล ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561.
รันตากร วงค์ศรี นันทกา โกมลเสน และรุ่งฤดี พรหมแก้วงาม. (2550). การพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมนักเรียน นักศึกษาโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยีจังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัยโรงเรียนลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยีจังหวัดลำปาง.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 และแนวทางการปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561. จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). ความเสียสละ. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2561. จาก http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=articlc&id.
Huitt, W.G. Moral and chaeacter development. Valdosta State University.
Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.