The การศึกษาความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ภาระงานจิกซอว์

ผู้แต่ง

  • ภัทรลดา วงษ์โยธา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

คำสำคัญ:

ความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, ภาระงานจิกซอว์, เจตคติต่อการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานจิกซอว์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานจิกซอว์ และศึกษาเจตคติต่อการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานจิกซอว์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคมจังหวัดขอนแก่น ก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selectiion) แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้สอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานจิกซอว์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานจิกซอว์ และแบบวัดเจตคติต่อการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานจิกซอว์ ซึ่งการดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษก่อนเรียนเท่ากับ 9.23 คิดเป็นร้อยละ 30.77 และหลังเรียนเท่ากับ 22.31 คิดเป็นร้อยละ 74.36 ซึ่งคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานจิกซอว์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  2. นักเรียนมีเจตคติต่อการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานจิกซอว์ อยู่ในระดับดี

คำสำคัญ:  ความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ, ภาระงานจิกซอว์, เจตคติต่อการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานจิกซอว์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
_______. (2553). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่ง
สินค้าและพัสดุภัณฑ์.
เรวดี หิรัญ (2533). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนจากการตั้งคำถามจากเรื่องที่อ่านเองและโดยการ
ย่อเรื่องที่อ่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามัธยมศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Blake, R. (2000). Computer mediated communication: A window on L2 Spanish
Interlanguage. Language Learning and Technology, 4, 120-136.
Cross, D. (1995). A practical handbook of language teaching. London: Phonix ELT
Krashen, S., & Terrell, T.D. (1985). The input hypothesis: Issues and in
implications. New York: Longman Group Limited.
Likert, R. (1932). A teaching for the measurement of attitude. Achieves of
Psychology, 140(1), 1-55.
Nation, I. S. P.. (2006). Teaching Vocabulary. ASIAN EFL Journal. Retrieved
November 7, 2018, from http://www.asian-efl-journal.com/sept_50_pn.pndf.
Nunan, D. (2004). Task-based language teaching. Cambridge: Cambridge University
Press.
Pica, T., Kanagy, R., & Falodun, J. (1993). Task and Language Learning: Integrating
Theory and Practice. Bristol: Multilingual Matters
Richard, J. C., & Renandya, W.A. (2005). Methodology in language teaching. An
anthology of current practice. Cambridge: Cambridge.
Savignon, S. (1983). Communicative competence: Theory and classroom practice.
New York: McGraw Hill.
Willis, J. (1996). A framework for task-based learning. Edinburgh: Longman.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09