การศึกษาสภาพ และปัญหาการวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
คำสำคัญ:
สภาพและปัญหาการวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล, การวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาการวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครู และ 2) เปรียบเทียบสภาพ และปัญหาการวางทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 322 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นด้านสภาพการวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครู เท่ากับ .95 และค่าความเชื่อมั่นด้านปัญหาการวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครู เท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครู โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลของครู โดยรวมและรายด้าน มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย และ 2) ครูที่มีเพศต่างกัน มีสภาพและปัญหาการวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคลในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน แต่ครูที่มีอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของสถานศึกษาต่างกัน มีสภาพและปัญหาการวางแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
เขต 1. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1 (3), 116 - 132.
ถาวร เส้งเอียด และคณะ. (2554, กรกฎาคม - ธันวาคม). สภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในจังหวัดราชบุรีและสมุทรสงคราม.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34 (3-4), 108 - 116.
นราธิป ศรีลาศักดิ์. (2559). ปัญหาและความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิมพ์วิสาข์ สารประสพ. (2558). แผนพัฒนาตนเองรายบุคคล. ปทุมธานี : โรงเรียนวัดเขียนเขต. ศักดิ์สิทธิ์ ภูพลผัน. (2550). การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของผู้บริหารและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2551). การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2560, จาก http://www.nidtep.go.th/competency/ book.htm.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (2559). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. พระนครศรีอยุธยา : ผู้แต่ง.
สุนิษา กลึงพงษ์. (2556). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายปฏิบัติการคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์. (2555, มกราคม - มิถุนายน). การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร (Individual Development Plan, IDP) เพื่อการบริหารโรงเรียนและสถาบันการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จ. วารสารบริหารการศึกษา มศว., 16, 2 - 11.
Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis (3rd. Ed.). New York : Harper and Row.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.