แนวทางพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อความสุขในโรงเรียน
คำสำคัญ:
การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ความสุขในโรงเรียนบทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมและความสุขในโรงเรียน อีกทั้งยังมุ่งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหลักและองค์ประกอบรวมถึงการนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อความสุขในโรงเรียน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารและครูในสังกัดโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี ของสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและสุขภาพแรงงานจำนวน 376 ตัวอย่างแล้วนำมาวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลวิจัยพบว่า ระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมและความสุขในโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้งตัวแปรหลัก และองค์ประกอบ ส่วนลักษณะและทิศทางความสัมพันธ์พบว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ค้นพบว่ามีแนวทางการพัฒนาการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อความสุขในโรงเรียนมีปัจจัยอิทธิพลประกอบด้วย การติดตามผลปฏิบัติงาน การสื่อสารแบบเปิด และความผูกพันต่อภาระงาน โดยปัจจัยทั้งสามมีอิทธิพลร่วมกันต่อความสุขในโรงเรียนได้ร้อยละ 71.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ในขณะที่องค์ประกอบด้านการกระจายอำนาจ การตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ และการสนับสนุนทรัพยากร ยังคงเป็นปัจจัยที่ต้องกำหนดแนวทางเพื่อการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
References
กันธิมา ชัยอุดม และภารดี อนันต์นาวี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต3, วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 10(1), 23.
กวินธร เสถียร. (2555) แนวทางการทบทวนวรรณกรรมสำหรับการเขียนวิทยานิพนธ์ด้านสังคมศาสตร์: สภาพปัญหาและหลักการทบทวนวรรณกรรม, วารสารมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 9(2), 45-66
กำพลสิริ พุทธรักษา อำนวย ปาอ้าย และทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2559) รูปแบบสมรรถนะผู้นำองค์กรแห่งความสุขภาคเอกชน, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 197-210
คู่มือความปลอดภัย(ออนไลด์). (2556). สืบค้นจาก : http://www.oshthai.org [15 ธันวาคม 2561]
เจือจันทร์ จงสถิตย์อยู่. (2557). การจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ด้วยพลังเครือข่าย, วารสารการศึกษาไทย, 11(116)
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ, วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 27(1), 144
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาโครงการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเพื่อสุขภาวะของคนไทย, การศึกษารากฐาน การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: แนวคิดสู่การปฏิบัติ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
พฤกษา เครือแสง. (2558). คุณภาพการศึกษาไทยกับมาตรฐานการบริการสาธารณะของรัฐ, วารสารนักบริหาร, 35(2), 46-60
ภุชงค์ ไชยชิน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการบริหารงานกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง จังหวัดบุรีรัมย์, วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 27(3).
ภูริชญา ยิ้มแย้ม สฎายุ ธีระวณิชตระกูล คุณวุฒิ คนฉลาด รุ่งเจนจิต และสมโภชน์ อเนกสุข. (2556). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนเทศบาล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, วารสารการบริหารการศึกษา มศว., 10(19)
ยุทธไกยวรรณ. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุจิตรา เทียนสวัสดิ์. (2550). ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา: ข้อวิพากษ์และข้อเสนอแนะวิธีคำนวณ, พยาบาลสาร, 34(4)
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558, เม.ย.-มิ.ย.) ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออก, วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 11(4), 60-70
สุวิชาน มนแพวงศานนท์. (2545). วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น
อัจฉราวรรณ งามญาณ. (2554). อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน่, วารสารบริหารธุรกิจ, 34(131), 46-60
อัชฌา ชื่นบุญ รุ่งฤดี โลลุวิวัฒน์ ศราวุธ มิ่งสูงเนิน จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์ และสุนทร ช่องชนิล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเซนต์เมรี่, วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4ฉบับพิเศษ
อธิคุณ สินธนาปัญญา อภิธีร์ ทรงบัณฑิตย์ ราชันย์ บุญธิมา และวีระ สุภากิจ. (2557, ต.ค.-ธ.ค.)
การสร้างความสุขในสถานศึกษา, สุทธิปริทัศน์, 22(88)
Abdullah, A.G.K., & Ling, Y-L. (2016). Understanding workplace happiness in schools:
the relationship between workplace happiness, teacher’s sense of efficacy,
affective commitment and innovation behavior, Academic of Social Science
Journal, 1(4), 80-83
Brown, J.D. (2011). Likert items and scales of measurement, Shiken: JALT Testing &
Evaluation; SIG News letter, 15(1), 10-14
Chi, H., Yeh, H., & Wu, S.F. (2014). How well-being mediates the relationship between
social support and teaching effectiveness, Journal of Education and Learning, 3(4)
Cronin, P., Ryan, F,.& Coughlan, M. (2008). Undertaking a literature review: a step-by-
step approach, British Journal of Nursing, 17(1), 38-43
Gamage, D.m& San Antonio, D. (2006). Effective participatory school administration,
leadership, and management: does it affect the trust levels' of stakeholders?
International Journal of Educational Leadership Preparation, 1(2), n2
Goksoy, S. (2014). Participation of teachers in school administration and their
organization citizen behavior, International Journal of Humanities and Social
Science, 4(7), 171-182
Shagholi, R., Abdolmalki, R., &Moayedi, A.A. (2011). New approach in participatory
management, concept and applications, Procedia Social and Behavioral
Sciences, 251-255
Toulabi, Z., Raoufi, M., &Allahpourashraf, Y. (2013). The relationship between teachers'
happiness and quality of work life, Procedia-Social and Behavioral Sciences, 84,
691-695
Yamane, T. (1973).Statistics: An Introductory Analysis: Third edition, New York; Harper & Row Publication
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.