The การสร้างชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

-

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา - เคลือบแก้ว โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ชุดการเรียน, วิทยาศาสตร์, พันธุกรรม, รูปแบบการเรียนรูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิภาพของชุดการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดการเรียน กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที แบบDependent sample
ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา มีค่าประสิทธิภาพเป็น 84.17/86.67 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ชุดการเรียน/ วิทยาศาสตร์/พันธุกรรม/รูปแบบการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

References

กิดานันท์ มะลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ทิศนา เขมณี. (2551). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ทีมีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2545). นวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พัชรินทร์ ชูกลิ่น. (2554). การใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
วิชาชีววิทยา เรื่อ เคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์.กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. ม.ป.ท.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ:
ดวงกมลสมัย.
Torp, L.,& Sage, S.(1998). Problem as possibilities : Problem-base learning for K-12 education. Retrieved from https://eric.ed.gov/ERICwebPortal/custom/portlets/ recordDetails/

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09