การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 21

ผู้แต่ง

  • นางสาวปราณปรียา ผ่องจิต นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวิธีดำเนินการวิจัย 3 ระยะตามความมุ่งหมายของการวิจัย  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน  169 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม  แบบประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินแนวทาง  สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับ ความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง

           ผลการวิจัย  พบว่า 

  1. องค์ประกอบและตัวชี้วัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มี 5 องค์ประกอบ 12 ตัวชี้วัด
  2. สภาพปัจจุบันของการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.72)   และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การวิเคราะห์ผู้เรียนและการวัดผลและประเมินผล รองลงมาคือ การออกแบบการเรียนรู้ และค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การเตรียมการสอน  ส่วนสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด( = 4.69) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การวิเคราะห์ผู้เรียน รองลงมาคือ การออกแบบการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การศึกษาหลักสูตรและการเตรียมการสอน
  3. แนวทางพัฒนาครูในการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21  ประกอบด้วย 5 แนวทาง คือ 1)  การส่งเสริมให้ครูศึกษากลักสูตรนโยบายและกฎหมายการศึกษา  2) การส่งเสริมให้ครูใช้หลักจิตวิทยา หลักวิชาการในการวิเคราะห์ผู้เรียน 3) สนับสนุนให้ครูได้รับการพัฒนาศักยภาพของตัวเอง 4) การสนับสนุนสื่ออุปกรณ์และส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดี  5)  ติดตามการวัดและประเมินผลอย่างเป็นระบบและเป็นมิตรพร้อมสร้างเครือข่ายการพัฒนาการศึกษา

 

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมอาเซียน. อาเซียน 2020 : วิสัยทัศน์ผ่านภาพ. กรุงเพพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2546
คณาจารย์ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2553). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัด
การศึกษาตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล ปี 2556. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
บุหงา คงราช. (2560) การพัฒนาแนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วาสนา จ่างโพธิ์. (2557) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. (2555) วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
เศรษฐพัส สุวรรณแสนดี. (2561) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบCLT และแบบ TPR วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อัจฉราภรณ์ สิงห์สม. (2561) แนวทางพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09