ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาทฤษฎีทางการเมืองและจริยศาสตร์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ

ผู้แต่ง

  • มนตรี รอดแก้ว

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, โยนิโสมนสิการ

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาทฤษฎีทางการเมือง และจริยศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแผนการสอน วิชาทฤษฎีทางการเมือง และจริยศาสตร์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการสอน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีต่อการเรียนการสอน วิชาทฤษฎีทางการเมืองและจริยศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 (ภาคปกติ) ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2557  สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย  นักศึกษา  1  ห้อง  จำนวน  15  รูป/คน  ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แผนการจัดการสอนแบบโยนิโสมนสิการ  จำนวน  9  สัปดาห์  สัปดาห์ละ  3  ชั่วโมง  รวมจำนวน  27  ชั่วโมง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ชนิด  4  ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ที่มีความยาก  (p) อยู่ระหว่าง  0.521  ถึง  0.782  ค่าอำนาจจำแนก  (r)  ตั้งแต่  0.321  ถึง  0.683  ค่าความเชื่อมั่น  โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา  (Alpha Coefficient)  ตามวิธีของครอนบาค  (Cronbach)  ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  (Mean)  ร้อยละ  (Percentage)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard  Deviation)  และการทดสอบสมมุติฐานด้วย  Paired t–test   ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ  81.75/83.11  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2  มีค่าเท่ากับ  0.6833  แสดงว่านักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียน  คิดเป็นร้อยละ  68.33 (3) กลุ่มตัวอย่างที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

References

บุญชม ศรีสะอาด.(2533). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
. การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น, 2543.
ประทีป เมธาคุณวุฒิ.(2545). หลักสูตรอุดมศึกษา : การประเมินและการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : นิชิน แอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุต ฺโต)(2543). ถึงเวลามารื้อปรับระบบพัฒนาคนกันใหม่. กรุงเทพมหานคร : กรม วิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
. (2543)ความคิดแหล่งสำคัญของการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542.ราชกิจจานุเบกษา 116(74ก) : 14.
มณฑา สุขศรี.(2552). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา 8 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกับเรียนรู้” รายงานการวิจัย. กลุ่มสาระสังคมศึกษา : โรง เรียนอัสสัมชัญธนบุรี.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ.(2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
วศิน อินทสระ.(2554). โยนิโสมนสิการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ เรือนธรรม.
สมนึก ภัททิยธนี.(2546). เทคนิคการสอนและรูปแบบการเขียนข้อสอบแบบเลือกตอบ
วิชาคณิตศาสตร์เบื้องต้น. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2543). รูปแบบและภารกิจอุดมศึกษา.กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพานิช.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31