บทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน : กรณีศึกษาอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ทนงศักดิ์ ปัดสินธุ์

คำสำคัญ:

บทบาทของผู้นำท้องถิ่น, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน พื้นที่อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี โดยทำการศึกษาจากผู้นำท้องถิ่นใน 2 ลักษณะ ได้แก่ ผู้นำโดยโครงสร้าง และผู้นำโดยธรรมชาติ เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่นอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t – test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

             (1) บทบาทของผู้นำท้องถิ่น อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน และมีความต้องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความต้องการอยู่ในระดับมากในทุกด้าน

             (2) ผู้นำโดยโครงสร้างและผู้นำโดยธรรมชาติ โดยภาพรวมมีบทบาทอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความต้องการของผู้นำท้องถิ่นทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ความต้องการในการพัฒนาบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

          ผลจากการวิจัย ผู้วิจัยสามารถนำมาเสนอรูปแบบแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาบทบาทผู้นำท้องถิ่นออกเป็น 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมชุมชน ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน และยุทธศาสตร์การกำกับ ดูแลของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน

References

ดำรงศักดิ์ จินดากุล. (2538). การพัฒนาเมืองและการขยายความเจริญสู่ชนบท ในสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยโลกสีเขียว จิตสำนึกใหม่ของมนุษยชาติ.
วิชาการ, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

สิ่งแวดล้อมไทย, สถาบัน. (2538). การกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ภูมิภาคประชาชนอยู่ที่ไหน. สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง บรรณาธิการ. เอกสารประกอบการสัมมนาประจำปีเรื่อง สิ่งแวดล้อม
ไทย ใครจัดการรัฐ ธุรกิจ หรือประชาชน . กรุงเทพมหานคร : สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย.
อนุกรรมการจัดทำคู่มือการจัดการทำแนวทางการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด, คณะ. (2533). คู่มือการจัดทำแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด และอำเภอ. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์อักษรไทย.
อำนวย ปรุตคจริยา. (2540). บทบาทหน้าที่ของสภาตำบลต่อโครงสร้างภายในชนบท : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลมหาโพธิ์ อำเภอศรีวิชีย จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Edmuade, S. and Letey, J. (1973). Environmental administration. New York : Mc Graw-Hill.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30