การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีพัฒนานักเรียนด้วยหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาท
คำสำคัญ:
การพัฒนานักเรียน, ไตรสิกขา, ปรัชญาพุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง วิธีการพัฒนานักเรียนด้วยหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาท มีวัตถุประสงค์ ดังนี้1. เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีพัฒนานักเรียนโดยทั่วไป2. เพื่อศึกษาหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาท3. เพื่อวิเคราะห์วิธีพัฒนานักเรียนด้วยหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นหลัก โดยการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ
ผลการวิจัยพบว่า
- แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีพัฒนานักเรียนโดยทั่วไปเป็นการพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักคิดวิเคราะห์
อย่างมีเหตุมีผลมุ่งให้เด็กได้คิดเป็น ทำเป็น และรู้จักการแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเองเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงบทบาทได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยโรงเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นผู้ให้การส่งเสริมสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมาะสมและเอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน พร้อมกับส่งเสริมพัฒนาการทางกาย จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพอนามัยที่ดี และเจริญเติบโตสมวัย มีการดูแลเอาใจใส่เด็ก ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ให้เด็กมีสุขภาพจิตดีมีอารมณ์สดชื่นแจ่มใสส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมให้เด็กสามารถปรับตนเข้ากับครู เพื่อน และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางสติปัญญาได้อย่างดีที่สุดให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้สะสมประสบการณ์เพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
2)หลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นการปลูกฝังอบรมขัดเกลาในเรื่องของศีล สมาธิ ปัญญาไตรสิกขาเป็นข้อปฏิบัติเพื่อฝึกอบรมกาย วาจา จิตใจและปัญญาปิดกั้นโอกาสในการทำความชั่ว และส่งเสริมโอกาสในการทำความดีเป็นสิ่งที่ใช้จัดวางระเบียบสังคมให้เหมาะสมเกื้อกูลสำหรับการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขทำจิตของคนให้สงบ ให้มีจิตยึดมั่นและมั่นคงในคุณธรรม เร้าใจให้ฝักใฝ่ และมีวิริยะอุตสาหะ ในการสร้างความดีงามให้มีความรู้ความชัดเจนในเหตุและผลโดยการใช้ปัญญาในการกำหนดและการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
3)วิธีพัฒนานักเรียนด้วยหลักคำสอนเรื่องไตรสิกขาในพุทธปรัชญาเถรวาทการพัฒนานักเรียนด้วยหลักไตรสิกขา เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนอบรมพัฒนาตน จนถึงขั้นปัญญา มุ่งเน้นการพัฒนาสติปัญญาให้รู้จักคิดและวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาหลักธรรมชั้นสูงในพุทธศาสนา เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาให้เป็นคนเก่ง ดี มีสุขตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์
References
มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ.(2552). พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุด 91 เล่ม, เล่มที่ 11, 27)พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย.มูลนิธิ.( 2523 ).พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วิทยานิพนธ์
จันทร์ทิมา เทียนศิริ.( 2547 ).ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพจิตโดยการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม. ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขา
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว.บัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญมา อุปถัมมวงศ์.( 2551 ).การปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาในชีวิตประจำวันของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรีเขต 1.ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการ
ศึกษา.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
ปิยะวรรณ กลิ่นจันทร์.( 2552 ).ผลของการพัฒนาการมีวินัยในตนเองทางการเรียนด้วยรูปแบบบวรตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล
เมืองท่าโขลง 1 จังหวัดปทุมธานี.ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว.บัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระบุญชู กัลณา.( 2551 ).การวิเคราะห์ไตรสิกขาในพระพุทธศาสนาเถรวาท.ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาพุทธศาสนา.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระมหาเสกสรร จิรภาโส( จี้แสง ).( 2552 ).การศึกษาวิเคราะห์หลักไตรสิกขาที่มีต่อการศึกษาไทย.ปริญญาพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อนุชิต เปรมปรี.( 2553 ).การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด.ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต.สาขาการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสารคาม.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.