แนวทางการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
คำสำคัญ:
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน, การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแนวทางการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียน และ 2) ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทาง การดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างแนวทางการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยการศึกษาเอกสารและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง และขั้นตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ จำนวน 176 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.1) ขั้นเตรียมการ 1.2) ขั้นดำเนินการ แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การสอนแบบบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ องค์ประกอบที่ 2 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน องค์ประกอบที่ 3 การจัดทำโครงการพิเศษพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และองค์ประกอบที่ 4 การสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนผ่านกิจวัตรประจำวัน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.8 - 1.0 1.3) ขั้นประเมินผล และ 1.4) ขั้นปรับปรุงแก้ไข และ 2) แนวทางการดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือที่ =3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
เกศรี ไชยเผือก. (2562). ผู้อำนวยการ. โรงเรียนจุฬาราษฏร์วิทยา. สัมภาษณ์.
คณาภรณ์ สีมาวงค์. (2560, มกราคม - มิถุนายน). รูปแบบการบริหารจัดการการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร. วารสารการบริหารปกครอง, 6 (1), 207 - 244.
ชมัยพร รัตนพรหม. (2558). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ชุมพร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา.
ศักดิ์สกล จันแสน. (2558). แนวทางการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนท่าตะโก 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (2561). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. พระนครศรีอยุธยา : ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการพัฒนา การวัด และประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
สุรัชนา มีใย. (2562). ผู้อำนวยการ. โรงเรียนวัดโสภณเจติการาม. สัมภาษณ์.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.