การจัดการเรียนรู้ของชุมชนจังหวัดพิษณุโลกตามหลักพุทธธรรม
การจัดการเรียนรู้, ชุมชน, หลักพุทธธรรม, จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, ชุมชน, หลักพุทธธรรม, จังหวัดพิษณุโลกบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ 3) วิเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรมของชุมชนจังหวัดพิษณุโลก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดย การวิจัยเอกสาร การวิจัยภาคสนาม ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษา การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 17 คน การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และอธิบายด้วยวิธีพรรณนาโดยเน้นการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรมอย่างละเอียด
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้อำเภอวังทอง, อำเภอนครไทย ประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินประจำตำบลหนองพระ (การเลี้ยงมดแดง) ป่าชุมชนบ้านวังกะบาก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืนอำเภอวังทอง (เลี้ยงแพะ แกะ) กลุ่มกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านร้องส้มมวง (ทำไม้กวด) บ้านโคก (ทำบายศรี, ทำแลแห่นาค, การแทงหยวก) บ้านร่องกล้า (ท่องเที่ยวธรรมชาติ วิถี วัฒนธรรมชาวม้ง) บ้านสวนยาง (ท่องเที่ยว ด้านการอนุรักษ์ต้นยางใหญ่) บ้านหนองแห้ว (จักสานตะกร้า กระเป๋า) เป็นต้น
2) ปัจจัยภายในประกอบด้วย ทุนทางสังคมที่เป็นรูปธรรม พื้นที่ อากาศ น้ำ ภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นภูเขา ประปาภูเขา ต้นยางใหญ่ ที่เป็นนามธรรม องค์ความรู้ วิธีการเลี้ยงมดแดง ประเพณีการแต่งงาน งานบวช วัฒนธรรม ประเพณีชาวม้ง พลังโซเชียลใน/นอกชุมชน กำลังการผลิต กฎ กติกาของชุมชน เทคโนโลยี การอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน ปัจจัยภายนอก ราคาวัสดุ ตลาด “คนมีเงินจากภายนอก” พรบ. ป่าชุมชน เทคโนโลยีการปริ้นภาพ หน่วยงานภาครัฐ องค์กร ภาคีเครือข่ายการการท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว
3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรม ประกอบด้วย พรหมวิหาร 4 ฆราวาสธรรม 4 และศีล 5 “มีความปรารถนาดีให้กับผู้อื่น สำหรับผู้ที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ก็ให้ความรู้แก่คนที่เข้ามาหาความรู้แบบเต็มร้อย” รักษาสัจจะ “แบ่งปันความรู้ แบ่งปันประสบการณ์ และทำให้คนอื่นสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประกอบอาชีพได้” เสียสละ “ใจมาก่อนในการดูแลป่า คือ ทุกคนไม่ควรเกี่ยงกันในการดูแลรักษาป่า ไม่ควรเข้าไปใช้ประโยชน์ป่ามากจนเกินไป เพื่อวันข้างหน้าลูกหลานจะมีกินมีใช้ต่อไป โดยไม่ไปหากินที่อื่น”
References
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2543). วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา. 227
สถาบันพระปกเกล้า. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550, (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 237-239.
(2) สัมภาษณ์
นางขจิต พลรัฐ อายุ 54 ปี ตำแหน่งประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน อำเภอวังทอง (เลี้ยงแพะ แกะ) หมู่ที่ 7 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เวลา 15.00 น.
นางทัศนีย์ เกตุยอด อายุ 54 ปี ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านบ้านสวนยาง หมู่ที่ 3 ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 11.00 น. (ท่องเที่ยวต้นยางใหญ่)
นางเปาวดี วงค์พานิช อายุ 55 ปี ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านบ้านวังกะบาก หมู่ที่ 19 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เวลา 13.45 น. (ป่าชุมชนบ้าน วังกะบาก)
นางละเมิน ทานนท์ อายุ 44 ปี ตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 10.00 น. (ทำบายศรี)
นายจวง ศรีทอง อายุ 86 ปี ตำแหน่งปราชญ์ชาวบ้าน (ทำแลแห่นาค,การแทงหยวก) หมู่ที่ 8 บ้านโคกออมสิงห์ ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 10.00 น.
นายถนัด พิมแสน อายุ 62 ปี ตำแหน่งประธานกลุ่มกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านร้องส้มมวง (ทำไม้กวด) หมู่ที่ 8 ตำบลชัยนาม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 เวลา 16.15 น.
นายนัฐวัฒน์ ภูวเกียรติกุล อายุ 42 ปี ตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเนินเพิ่ม ณ โรงเรียนบ้านห้วยน้ำไช (สาขาบ้านร่องกล้า) ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 16.00 น. (ท่องเที่ยวธรรมชาติ วิถี วัฒนธรรมชาวม้ง)
นายบุญชู ศิดสันเทียะ อายุ 50 ปี ตำแหน่งปราชญ์ชาวบ้าน (การเลี้ยงมดแดง) ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินประจำตำบลหนองพระ บ้านเจริญผล หมู่ที่ 4 ตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
นายมานพ ขำพันธ์ อายุ 49 ปี ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองแห้ว หมู่ที่ 6 ตำบลเนินเพิ่ม อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เวลา 11.00 น. (จักสานตะกร้า กระเป๋า)
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.