การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานอาเซียนศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
คำสำคัญ:
การดำเนินงานอาเซียนศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการดำเนินงานอาเซียนศึกษาของสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานอาเซียนศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาการดำเนินงานอาเซียนศึกษาของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานอาเซียนศึกษาของสถานศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการดำเนินงานอาเซียนศึกษาของสถานศึกษา โดยรวม มีปัญหาอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานอาเซียนศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 ด้าน มีรายการปฏิบัติ รวมทั้งสิ้น 27 รายการ คือ ด้านการบริหารจัดการ มี 6 รายการปฏิบัติ ได้แก่ สถานศึกษาจัดประชุมเพื่อพิจารณาโครงการกิจกรรมอาเซียนศึกษาที่เหมาะสม และจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ ด้านการจัดการเรียนรู้ มี 6 รายการปฏิบัติ ได้แก่ สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูหาความรู้เพิ่มเติม ด้านการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา มี 5 รายการปฏิบัติ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูระดมความคิดในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานจัดกิจกรรม ด้านการจัดกิจกรรมสัมพันธ์ มี 4 รายการปฏิบัติ ได้แก่ สถานศึกษาร่วมกับชุมชนพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีมุมอาเซียนศึกษา และ ด้านการบริหารบุคลากร มี 5 รายการปฏิบัติ ได้แก่ สถานศึกษาสนับสนุน ส่งเสริมให้ครูเข้าอบรม เข้าร่วมกิจกรรม หรือศึกษาดูงานจากโรงเรียนที่เป็นศูนย์อาเซียนศึกษา (ASEAN learning school)
References
อาเซียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
เกียรติมนูญ บัวชื่น. (2557). การศึกษาสภาพและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่
ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 39 (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ชนิด ปาปะโลม. (2558). การดำเนินงานเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน
ของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช.
ต่อตระกูล บุญปลูก. (2556). การเตรียมความพร้อมและการศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขด้าน การจัดการเรียนรู้ของครูและผู้บริหารสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
ของโรงเรียนบ้านเวียงพาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย
เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS
(พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
รัตนา สีปา. (2557). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1.
การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. (2561). เอกสารสารสนเทศ
ทางการศึกษาปีการศึกษา 2561. พระนครศรีอยุธยา : ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้.
กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
สุรีรัตน์ อุทธา. (2558). แนวทางการบริหารสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนโรงเรียนในสังกัด
เทศบาลเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น,
2 (1), 555 - 572.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.