ศาสนทายาท: รูปแบบและอัตลักษณ์การเรียนรู้ MCU Lampang Buddhist College

ผู้แต่ง

  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

ศาสนทายาท, รูปแบบ, อัตลักษณ์, การเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการสังเกตการณ์ (Observation Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก In-depth Interview)   โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานของนิสิตปฏิบัติศาสนกิจกับการพัฒนาสังคม 2) เพื่อศึกษากระบวนการปฏิบัติศาสนกิจของนิสิตจากกระบวนการเรียนรู้  3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและลักษณะของการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า แนวทางการปฏิบัติศาสนกิจของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์มีรูปแบบการปฏิบัติงานตามหลักพันธกิจและนวลักษณ์  ซึ่งกระบวนการบริหารจัดการศาสนกิจมุ่งเน้นการเรียนรู้ ๓ ประการ คือ การคิดร่วมกัน (Think) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (Do) และการแบ่งปัน (Share)   การปฏิบัติศาสนกิจของนิสิตวิทยาลัยสงฆ์สามารถสังเคราะห์เป็นรูปแบบและอัตลักษณ์ในการเรียนรู้ในการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่สู่การพัฒนาจิตใจและสังคมที่มีรูปแบบ ได้แก่ ๑) การพัฒนากระบวนการและวัฒนธรรมการเรียนรู้ตามหลักพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ตามลักษณะของนิสิตที่พึ่งประสงค์ตามหลักนวลักษณ์  ๒) การพัฒนานิสิตให้บริการวิชาการแก่สังคมและมีส่วนร่วมคิดตามหลักพุทธบูรณาการตามหลักพันธกิจ ๓) การถ่ายทอดความรู้/ประสบการณ์กับชุมชน และ ๔) การฟื้นฟูศิลปะ วัฒนธรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 

รูปแบบและอัตลักษณ์การปฏิบัติศาสนกิจของนิสิตถือว่าเป็นผลิตผลอันทรงคุณค่าต่อการตอบสนองความต้องการแก่สังคม สร้างอัตลักษณ์อันโดดเด่นของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่ถึงพร้อมด้วยวิชาการและจรณะ เกื้อกูลประโยชน์สุขแก่ชุมชนและสังคม

References

1. หนังสือ
บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2549). การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์เอ็กเพรส.
ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. (2548). ประมวลสาระชุดวิชาการประยุกต์นิเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนา เล่มที่ 1. นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศาสตร์ มหาวิทยาลยัสุโขทยัธรรมาธิราช.
พฤกษ์เถาถวิล. (2551). บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาในการดำเนินงานโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิต พอเพียงปี2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา.
สำเนาว์ขจรศิลป์. (2531). รายงานการวิจัยเรื่องความคิดเห็นของนักศึกษาและผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษาเกี่ยวกับการประชุมเชียร์และการต้อนรับน้องใหม่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอนแก่น เชียงใหม่และสงขลานครินทร์, ม.ป.ท.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2552). อนุสารอุดมศึกษาปีที่ 35 ฉบับที่ 371 พฤษภาคม 2552. กรุงเทพฯ.
ศศิรัศมิ์ เสือเมือง และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 2 (1), 33.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545), พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร และคณะ. (23 มิถุนายน 2559). กระบวนการประชาสังคม “บวร” หลักในการพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน. การประชุมวิชาการระดับชาติสหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ ครั้งที่ 3.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2551). กิจกรรมนักศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา.
2. สัมภาษณ์
พระครูวรดิตถ์วิมล. (28 พฤษภาคม 2562). เจ้าอาวาสวัดท่าวิมล ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง [บทสัมภาษณ์].
พระมหาศรายุทธ ฐานิสฺสโร. (30 พฤษภาคม 2562). เจ้าอาวาสวัดหล่ายทุ่ง ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง [บทสัมภาษณ์].
พระครูสุวรรณทัศนสุนทร. (28 พฤษภาคม 2562). เจ้าคณะตำบลล้อมแรดเขต 2 เจ้าอาวาสวัดอุมลอง ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง [บทสัมภาษณ์].
นางสมพรรณ สายปัน. (30 พฤษภาคม 2562). ศรัทธาวัดทุ่งหล่าย ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง [บทสัมภาษณ์].
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง “การปฏิบัติศาสนกิจของนิสิตระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2561. (2561). สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2562, http://stud.mcu.ac.th/sas/?page_id=205

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09