การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ในสังคมไทย กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อรุณ ปญฺญารุโณ มหาวิทยาลัยมหามุฏราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์

บทคัดย่อ

การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทย ศึกษากรณีประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 6 ด้าน คือ ด้านเมตตากายกรรม ด้านเมตตาวจีกรรม ด้านเมตตามโนธรรม ด้านสาธารณโภคี ด้านสีลสามัญญตา และด้านทิฏฐิสามัญญตา ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชาชน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method)

ผลการวิจัยพบว่า
1. การประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคมไทยของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีความการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ทุกด้านมีการประยุกต์ใช้อยู่ในระดับมาก
2. ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีความการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาโดยรวมและในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน

References

1. หนังสือทั่วไป
จำนง ทองประเสริฐ. (2550). พระพุทธศาสนากับสังคมและการเมือง. กรุงเทพมหานคร : แพร่วิทยา.
เนื่องน้อย บุณยเนตร. (2537). “จริยศาสตร์สภาวะแวดล้อม : โลกทัศน์ในพุทธปรัชญาและปรัชญาตะวันตก”. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สุวีรินาสาส์น.
ภัทรพร สิริกาญจน. (2536). “หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ : แนวคิดและบทบาทของพระคำเขียน สุวณฺโณในการพัฒนาชุมชน” กรุงเทพมหานครโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2551). สถิติชั้นสูงในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุพัตรา สุภาพ. (2536). สังคมและวัฒนธรรมไทย : ค่านิยมครอบครัวศาสนาประเพณีพิมพ์ครั้งที่ 9กรุงเทพมหานครไทยวัฒนาพานิช.

2. วิทยานิพนธ์
จริยา จัตุพร. (2554). “บทบาทและหน้าที่ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน : กรณีศึกษาบทบาทและหน้าที่ของพระมหาไพเราะฐิตสีโล, ดร. (กฤษณา)”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). “กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการปรับเปลี่ยนบทบาทการพัฒนาของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน” ในรายงานการวิจัย,สถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมจิตร อธิปญฺโญ. (2554). “บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน : กรณีศึกษาคณะสงฆ์อำเภอลอง จังหวัดแพร่”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วัฒนา สิมมา. (2554). “บทบาทพระสงฆ์กับการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของไทย : กรณีศึกษาในจังหวัดกระบี่”. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วุฒินันท์ กันทะเตียน. (2541).“พระสงฆ์กับการเมือง : แนวคิดและบทบาทในสังคมไทยปัจจุบัน” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตอักษรศาสตร์ (ศาสนาเปรียบเทียบ) มหาวิทยาลัยมหิดลบัณฑิตวิทยาลัย.

3. บทความในวารสาร
ปรีชา ช้างขวัญยืน,ศ.สัมมนาทางวิชาการเรื่อง “พระสงฆ์กับการเมือง”. วาสารบัณฑิตศึกษา ฉบับพิเศษ (วิทยาเขตพะเยา) ประจำปี 2555. โดย ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. ภาษาอังกฤษ
Kirsch, I. (1978). The international adult literacy survey (IALS): Understanding what was measures[online]. Available from: http://www.ets.org/portal/site/menuitem [October 20, 2009]

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09