ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • กัญยา่ เผือดจันทึก มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านการโฆษณา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ กลุ่มป้าหมายของการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562  โรงเรียนสูงเนิน    อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 15 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบแผนการวิจัยเป็นแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  t-test dependent และ Wilcoxon matched paired-rank test  ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

การคิดเป็นขุมทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของมนุษย์ อุปสรรคที่สําคัญของการคิดคือความ สับสนซึ่งมักเกิดจากการคิดหลายๆรูปแบบในเวลาเดียวกัน เช่นขณะที่เราคิดมักจะใช้อารมณ์ ความรู้สึก ใช้ข้อมูลที่ได้รับ ใช้เหตุผลเชิงตรรกะใช้ความคาดหวังและใช้ความคิดสร้างสรรค์ปะปน รวมกันไปทําให้การคิดไม่มีประสิทธิภาพ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโนจึงได้พัฒนาการคิดโดยใช้หมวก หกใบ ขึ้น เพื่อให้คนเราฝึกคิดแบบรอบด้าน โดยคิดเป็นส่วน ๆ ก่อนเป็นการแยกแยะความคิดเป็น ตอนให้ชัดเจนซึ่งมีอยู่หกแบบ โดยใช้หมวกแต่ละสีกํากับและกําหนดลักษณะการคิดแต่ละแบบที่ ไม่เหมือนกัน ซึ่งทําให้การคิดมีความรอบคอบมากยิ่งขึ้น โดยอาจฝึกคิดคนเดียวโดยสวมบทบาทใส่ หมวกทั้งหกใบหรือคิดเป็นกลุ่มโดยให้ใส่หมวกคนละสี แล้วผลัดกันเปลี่ยนหมวกกัน ก็จะทําให้เกิด ความคิดเห็นที่ชัดเจนหลากหลายและมีแง่มุมแปลกใหม่ของความคิดที่มากขึ้น (เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน: อ้างถึงใน ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ, 2553 : 279)

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-09