ผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง การบริโภคสินค้าและการบริการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิกซอว์
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจ เรื่องการบริโภคสินค้าและการบริการ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิกซอว์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทุ่งจังหัน ตำบลทุ่งจังหัน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความรู้ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.74 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33 - 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน 4) แบบวัดพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent Samples ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ความเข้าใจ พบว่านักเรียนมีระดับคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิกซอว์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค จิกซอว์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: ผลการจัดการเรียนรู้ เทคนิคจิกซอว์ การเรียนรู้แบบร่วมมือ,
พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ความพึงพอใจ
References
กาญจนาภรณ์ พลประทีป. (2543). “การบริโภคเชิงตรรกะวิทยา ในโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร
เสริมเพื่อสุขภาพ”, วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะฉัตร ขาวแก้ว. (2542). ผลการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ ที่มีต่อทักษะการทำงานร่วมกันและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชา ส 305 : ประเทศของเรา 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนสตรีราชินูทิศ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
จริยา ขุนเศรษฐ์. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ร่วมกับ
แผนภูมิมโนทัศน์ ทีมีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชามัธยมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เศวตกนิษฐ์ ศรีสนาย . (2552). ได้ทำการวิจัยเรื่อง ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการ
เรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค Jigsaw สาระประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เดือนเพ็ญ ภูเขียว. (2553). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรกลมสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมแบบกลมรวมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw) เรื่องอาณาจักรอยุธยาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัชวาล แสงจักรวาล. (2551). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือแบบ
ผสมผสานการอ่านและการเขียน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สกลนคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
อรทัย อินตา. (2547). ผลการใช้วิธีการต่อบทเรียนเรื่องหลักธรรมพัฒนาเพื่อมงคลแห่ง
ชีวิตต่อพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.