การเปรียบเทียบตัวชี้วัดการเป็นเมืองที่มีการจัดการปกครองอย่างอัจฉริยะ

ผู้แต่ง

  • จีรนันท์ แท่นทอง วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเปรียบเทียบ, ตัวชี้วัด, เมืองอัจฉริยะ, การจัดการปกครองอย่างอัจฉริยะ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันโลกได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทำให้การนำการจัดการปกครองรูปแบบเดิมมาใช้อาจเป็นไปอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับรูปแบบของความเป็นเมืองในปัจจุบัน จึงต้องพัฒนาระบบการจัดการปกครองอย่างอัจฉริยะ ซึ่งเป็นมิติหนึ่งของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบตัวชี้วัดการเป็นเมืองที่มีการจัดการปกครองอย่างอัจฉริยะ ที่มีการพัฒนาโดยองค์กรในระดับนานาชาติและเมืองที่มีความเป็นเมืองอัจฉริยะ อันได้แก่ ISO, City Key, ITU, U4SSC, สิงคโปร์, นิวยอร์ก, บาร์เซโลนา และดูไบ โดยการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสาร

          ผลการศึกษาพบว่า ตัวชี้วัดการเป็นเมืองที่มีการจัดการปกครองอย่างอัจฉริยะอย่างน้อยที่สุดจะต้องประกอบไปด้วย ตัวชี้วัดด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน, ด้านการให้บริการสาธารณะและการให้บริการทางสังคม, และด้านความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐ ซึ่งดูจากตัวชี้วัดของเมืองที่มีการจัดการปกครองอย่างอัจฉริยะ

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2019-12-10