A การเสริมสร้างศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพุทธศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
การเสริมสร้าง, ศักยภาพ, อาจารย์ประจำหลักสูตรบทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพุทธศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อแสวงหาแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร 2) เพื่อสร้างแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร 3) เพื่อจัดทำคู่มือการเสริมสร้างศักยภาพแก้ปัญหาและพัฒนาอาจารย์ประจำหลักสูตร การเสริมสร้างศักยภาพอาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาพุทธศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพุทธศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา จำนวน 20 รูป/คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลแล้วนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การเสริมสร้างศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาพุทธศาสตร์ ด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ประจำหลักสูตร อยู่ในระดับดี ซึ่งพบว่า รายวิชา เนื้อหาวิชา ครอบคลุม ทันสมัย เหมาะสมกับผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและด้านงบประมาณในการส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ให้มีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการผลิตผลงาน ทางวิชาการ ผลิตตำราการ ทำวิจัย มีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับสัดส่วนของอาจารย์ประจำหลักสูตร 2) ด้านพันธกิจหลักที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นขุมปัญญาของสังคมที่เป็นพันธกิจที่ยอมรับในระดับสากลมี 4 ประการ คือ 1. การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อพัฒนากำลังคนในระดับสูงให้กับสังคมประเทศชาติ 2. การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ 3. การบริการทางวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างสรรค์ จรรโลงให้สังคมเจริญก้าวหน้าและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม 4.การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์แห่งชาติไทย พบว่า พันธกิจทั้ง 4 ด้านจำเป็นต้องเสริมสร้างศักยภาพอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 3) แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของอาจารย์ประจำหลักสูตร ด้านความรู้ ทักษะ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สิ่งสนับสนุนความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของอาจารย์ประหลักสูตร
ผลการวิจัยได้พบปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพครูอาจารย์ ซึ่งบทบาทอาจารย์ยุคใหม่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามหลักสูตร โดยมุ่งหวังให้อาจารย์เป็นนักวิจัย นำเอาผลการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ อาจารย์ต้องทำการค้นหาสาเหตุแห่งปัญหาที่แท้จริง แสวงหาแนวทาง หลักการ เทคนิค วิธีการต่างๆ เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา ซึ่งผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาต้องให้การสนับสนุนทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้การพัฒนาตัวอาจารย์และพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพต่อไป
References
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ
(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 39 ง. 25 พฤษภาคม 2548
ราชกิจจานุเบกษา มาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง สำนักมาตร
ฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2553
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2558
สุชาติ เมืองแก้ว. (2550). แนวทางการพัฒนาอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา. เอกสารการประ
ชุมสัมมนา ประจำปี 2550. กรุงเทพมหานคร.
ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วารสารวิชา
การมหาวิทยาลัยปทมุธานี 186 ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2557
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.