ภาวะผู้นำยุคใหม่และทักษะในการบริหารงานในองค์กร
ภาวะผู้นำยุคใหม่และทักษะในการบริหารงานในองค์กร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำยุคใหม่, ทักษะการบริหารงานในองค์กรบทคัดย่อ
ภาวะผู้นำยุคใหม่และทักษะในการบริหารงานในองค์กรในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่กล่าวกันว่าเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทุกๆ องค์กรต้องเผชิญกับสภาวะการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับกลุ่ม ระดับองค์กร ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับสังคมโลก ทั้งในด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ค่านิยม ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีและอื่นๆ ผลจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมสำหรับประเทศไทย ที่ผ่านมาเราได้เผชิญกับสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและยังมีผลกระทบต่อเนื่องตามมาถึงปัจจุบัน หากมองในระดับองค์กรทุกภาคส่วน ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และ และในทุกๆ ระดับมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวิเคราะห์องค์กร ตลอดจนวิเคราะห์หรือหาจุดเด่น จุดด้อย โอกาสและอุปสรรคปัญหากับคู่แข่งขันขององค์กรต่างๆ ซึ่งในความเป็นภาวะผู้นำยุคใหม่เป็นหน้าที่หนึ่งในหลายๆ หน้าที่ของผู้บริหาร ซึ่งภาวะความเป็นผู้นำหรือผู้บริหารจึงแตกต่างกันกล่าวคือ ผู้บริหารเป็นตำแหน่งที่กำหนดขึ้นในองค์กร มีอำนาจโดยตำแหน่งและได้รับความคาดหวังในหน้าที่เฉพาะเจาะจง จะมุ่งเน้นที่การควบคุม การตัดสินใจ และผู้บริหารจะต้องมีลักษณะของผู้นำองค์กร ส่วนภาวะผู้นำยุคใหม่นั้นจะได้รับมอบอำนาจทางสายงานแต่มีอำนาจโดยวิธีอื่นๆ มีบทบาทที่กว้างกว่าบทบาทผู้บริหาร ภาวะผู้นำยุคใหม่จะเน้นที่กระบวนการการมีส่วนส่วนของกลุ่ม การรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการใช้อำนาจกับบุคคลอื่นๆ ดังนั้นภาวะผู้นำคือศาสตร์และศิลป์ในการบริหารงานของผู้นำและผู้บริหาร จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร งานจะดำเนินไปด้วยดีและบรรลุวัตถุประสงค์ย่อมขึ้นอยู่กับทักษะการบริหารงานในองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นๆ ที่สามารถพัฒนาได้อย่างต่อยอดเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเล็งเห็นความสำคัญของภาวะผู้นำยุคใหม่กับทักษะในการบริหารงานในองค์กรและมีความเร่งด่วนในการที่จะต้องปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงตนเองและเพื่อให้ตระหนักถึงภาวะผู้นำยุคใหม่และทักษะในการบริหารงานในองค์กร รวมถึงการบริหารจัดการยุคใหม่ ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ธุรกิจก็ย่อมจะเยอะขึ้น ผู้บริหารต่างก็มีเทคนิคในการบริหารงานที่เก่ง ดูทันสมัยขึ้น และเมื่อให้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นจุดประกายก่อให้เกิดการประสบความสำเร็จในทุกๆ ด้านในการบริหารองค์กร
สรุปได้ว่า ภาวะผู้นำยุคใหม่กับทักษะในการบริหารงานในองค์กรนั้นทักษะผู้นำที่ดี เก่งคน เก่งงาน มีความก้าวหน้าในอาชีพนักบริหารถึงแม้ว่าการได้รับหรือได้เลื่อนตำแหน่งให้ผู้นำนั้นเป็นเรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการเป็นผู้นำที่มี ทักษะผู้นำ เพื่อทำตัวเองกลายเป็นผู้นำที่ดี ซึ่งจะต้อง เก่งคน เก่งงานและสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าในอาชีพนักบริหารได้ ปกติผู้นำจะต้องมีความสามารถมากกว่าผู้ตามเสมอ ถึงจะได้รับการยอมรับและได้รับความศรัทธาจากผู้ตาม ดังนั้นผู้นำที่ดีควรพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง หมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งปรับปรุงภาวะความเป็นผู้นำให้ดียิ่งขึ้น ทักษะผู้นำที่ดีต้องสามารถโน้มน้าวผู้ตาม ให้ลงมือทำงานจนบรรลุผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ที่ได้ตกลงร่วมกันด้วยความเต็มใจ ซึ่งอาศัยเทคนิคการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรเป็นสำคัญ
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำยุคใหม่, ทักษะการบริหารงานในองค์กร
References
จิณณ์ณัฎฐ์ พรหมนุรักษ์. (2562). Executives Communication: ทักษะการสื่อสาร สำหรับผู้บริหารยุคใหม่. การอบรม. รุ่นที่ 13 วันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม, Learning Hub Space ถ.นางลิ้นจี่.
มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
วีรชัย ตันติวีระวิทยา. (2530). In Search of Excellence. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สถาบันฝึกอบรม แฮปปี้เทรนนิ่ง. (2562). ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม. [ออนไลน์]. http://www.happy-training.com [สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2562].
Thomas J. Peters & Robert H. Waterman, Jr. (1985). The American Heritage Dictionary. American : 719.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.