การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่ม
คำสำคัญ:
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้, โครงงานคอมพิวเตอร์, กระบวนการสืบเสาะ, เทคนิคกระบวนการกลุ่มบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่ม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่ม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนนาข่าวิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่ม จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent Samples (Pre Test – Post Test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่ม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 86.03/85.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่ม มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.7675 ซึ่งแสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.75 2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่ม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง โครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคกระบวนการกลุ่ม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.83 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
References
มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
จันทร์เพ็ญ ภูโสภา. (2559). จิตวิทยาและการแนะแนวสำหรับครู. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
ชนินทร์ทิพย์ ลายพยัคฆ์. (2555). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมือง นครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ วท.ม. นครศรีธรรมราช :
มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ :
แดเน็กซ์อินเตอร์คอปอเรชั่น.
ดวงนภา สิงหพันธุ์. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์
เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก สาหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จันทบุรี :
มหาวิทยาลัยราชภัฏ รำไพพรรณี.
ดวงชีวัน กิติอาษา. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E เรื่อง เอกภพ
รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 ว 23102 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนศรีอินทราทิตย์พิทยาคม
พิษณุโลก : องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบญญาภา วิไลวรรณ. (2556). การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคิดสร้างสรรค์สาหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประกาศิต อานุภาพแสนยากร. (2556). การจัดการเรียนรู้. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประสาท อิสรปรีดา. (2552). สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุพัตรา ชาติบัญชาชัย. (ม.ป.ป.). กระบวนการเรียนรู้ : แนวคิด ความหมาย และบทเรียนในสังคม. กรุงเทพ ฯ :
พิสิษฐ์ไทย ออฟเซต.
สุพัตรา ชาติบัญชาชัย. (ม.ป.ป.). กระบวนการเรียนรู้ : แนวคิด ความหมาย และบทเรียนในสังคม. กรุงเทพ ฯ :
พิสิษฐ์ไทย ออฟเซต.
เสาวนีย์ วิชิต. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หลักการสื่อสารและกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์
และพัฒนาการพูดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาสารคาม :
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.