การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยศีล

ผู้แต่ง

  • worateb อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

คำสำคัญ:

การพัฒนา;คุณภาพชีวิต; ศีล 5

บทคัดย่อ

มนุษย์มีความต้องการทางกาย ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ เครื่องนุ่มห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และมีความต้องการทางจิตใจหรือทางศาสนา หมายถึง มีหลักธรรมที่ใช้เป็นแนวทางดำเนินชีวิต คือ การประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม อันเป็นรากฐานของกิจการทั้งปวง พร้อมกันนี้ต้องมีศีล คือ ข้อปฏิบัติหรือข้อควบคุมกายและวาจาให้เว้นจากการทำความชั่ว

บุคคลผู้มีมีสุขภาพกายและจิตใจดี แท้จริง คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี หมายความว่า สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขตามฐานะ ภายใต้บริบทของวัฒนธรรมในสังคมที่ตนอาศัยอยู่ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตใจ  สติปัญญา  อารมณ์  ความรู้สึกนึกคิดเป็นไปในทางบวก  มีฐานะทางเศรษฐกิจสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่เป็นภาระของผู้อื่น

ศีล ถือเป็นระเบียบวินัย ในการนำมาฝึกฝนอบรมบุคคลในด้านความประพฤติสุจริตทางกาย

วาจาและอาชีวะ เพื่อทำให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตที่ดี รู้จักใช้เหตุผล เข้าใจชีวิต ทำประโยชน์ให้สังคม มีความรักเผื่อแผ่คนอื่น รู้จักเมตตากรุณาและให้อภัยผู้อื่น มองโลกในแง่ดี มีความเชื่อที่ถูกต้องและความสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของสังคม

Author Biography

worateb, อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

วรเทพ เวียงแก สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์

References

ที.ปา.(บาลี) ๑๑/๓๕/๖๕
ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๔๗/๓๖๒ - ๓๖๔
ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๗๒
ม.มู.(ไทย) ๑๒/๑๓๕/๑๒๖ - ๑๒๘
ม.มู.(ไทย) ๑๒/๑๓๕/๑๒๖
ม.อุ.(บาลี) ๑๔/๒๗๕/๑๘๖
ม.อุ.(ไทย) ๑๔/๔๕๓ - ๔๖๓/๕๐๔ – ๕๑๐
องฺ.ทุก.(บาลี) ๒๐/๔๓๖/๑๒๓
องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๓๔/๗๘
องฺ.จตุกฺก. (บาลี) ๒๑/๑๔๘–๑๔๙/๑๘๙
องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๓๗/๖๐ – ๖๒
องฺ.ปญฺจก.(บาลี) ๒๒/๑๗๗/๒๓๓
องฺ.อฏฺฐก. (บาลี) ๒๓/๑๔๔/๒๘๙
องฺ.ทสก.(บาลี) ๒๔/๓๑/๗๔
องฺ.ทสก.(บาลี) ๒๔/๙๑/๑๙๔
องฺ.เอกาทสก. (ไทย) ๒๔/๑/๑ - ๓
ขุ.จู.(บาลี) ๓๐/๖๗๓/๓๓๓
คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเซียง. พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑ ฉบับมาตรฐาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง. ๒๕๓๕.
ชุติมา เทียนใส,ร.ท.หญิง. คุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการทหารชั้นประทวน กรมพลาธิการ
ทหารบก จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ
บริหารทั่วไป. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ : มหาวิทยาลัยบูรพา. ๒๕๕๑.
ทิพย์พรรณ นพวงศ์ ณ อยุธยา. “คุณภาพชีวิตที่ดี”. วารสารประชากรศึกษา. ๓ (๑), ๒๕๔๓ : ๙-๑๐.
เทพเวที, พระ. (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ ๙.กรุงเทพฯ
: มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย. ๒๕๔๓.
ธรรมธีรราชมหามุนี, พระ. (โชดก ญาณสิทฺธิ).วิปัสสนาญาณโสภณ.พิมพ์ครั้งที่ ๓.กรุงเทพฯ : ศรีอนันต์
การพิมพ์. ๒๕๔๖.
ธรรมปิฎก, พระ. (ป.อ.ปยุตฺโต). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ ๕.กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.๒๕๔๓.
______. พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๙.กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.๒๕๔๓.
______. วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๗.กรุงเทพฯ : ศยาม. ๒๕๔๖.
พิพัฒน์ จันทรา. คุณภาพชีวิตการทำงานข้าราชการครู ในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา
จังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา. ๒๕๔๒.
สภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. คุณภาพชีวิตของบุคลากรมหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ๒๕๕๒.
สมชาย เกิดแก้ว,พระมหา. พระพุทธศาสนาในสังคมที่เปลี่ยนแปลง : ศึกษาเปรียบเทียบการ
ตักบาตรของพุทธศาสนิกชนในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครและอำเภอศรีประจันต์
จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหิดล. ๒๕๓๗.
UNESCO. (๑๙๙๓). Quality of Life: An Orientation to Population Education.
Bangkok: UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-27