การเรียนการสอนรายวิชาการวิเคราะห์โครงการและการบริหารโครงการเพื่อการพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ยุคไทยแลนด์ 4.0

ผู้แต่ง

  • นิภาพรรณ เจนสันติกุล มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ไทยแลนด์ 4.0, รูปแบบการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการวิเคราะห์โครงการและการบริหารโครงการโดยนำแนวคิดการเรียนการสอน ได้แก่ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน แนวการเรียนรู้โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานตามการจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งเน้นไปที่ลักษณะกิจกรรมของการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงสามารถแสดงความเชื่อมโยงของรายวิชาที่เรียน ได้แก่ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ นโยบายสาธารณะ การบริหารการคลังและงบประมาณมาใช้ในการวิพากษ์ถึงความเป็นไปได้ และความเหมาะสมในการทำโครงการด้วยการสะท้อนมุมมองอย่างมีเหตุผลและมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข (NPV, IRR, PV, ROI) ข้อควรพัฒนาในด้านการเรียนการสอน ได้แก่ 1) บรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียน 2) ขนาดของห้องเรียน 3) อุปกรณ์การเรียน สื่อ ตำราหนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ 4) ระบบคลังข้อสอบ

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2554). การบูรณาการวิธีการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนร่วมกัน. Veridian E-Journal SU, 4 (1), 435-444.
ดารุณี บุญครอง. (2560). วิเคราะห์แนวทางการจัดการศึกษาไทยกับการขับเคลื่อนการศึกษาสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 17 (2), 1-25.
มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2556). การคิดอย่างเป็นระบบ: การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก.
วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11 (2), 1-14.
วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ และปิยะนันท์ พรึ่งน้อย. (2559). นวัตกรรมการศึกษาในการพัฒนาทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34 (3), 55-78.
หรรษา เศรษฐบุปผา, สมบัติ สกุลพรรณ์ และสุวิท อินทอง. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Integrated E-learning Course) สำหรับนักศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18 (3), 1-11.
สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์. (2560). การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แบบห้องเรียนกลับด้านเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28 (1), 100-108.
สุนันท์ สีพาย และไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). เปลี่ยนผ่านการศึกษาไทยสู่การศึกษา 4.0. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24 (2), 13-27.
อำพล พาจรทิศ, มนตรี แย้มกสิกร และทิพย์เกสร บุญอำไพ. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11 (2), 399-408.
Hussin, A.A. (2018). Education 4.0 Made Simple: Ideas For Teaching. International Journal of Education & Literacy Studies, 6 (3), 92-98.
Puncreobutr, V. (2016). Education 4.0: New Challenge of Learning. St. Theresa Journal of Humanities and Social Sciences, 2 (2), 92-97.
Vaitayachoti , Y. (2018). Human Resource Development for Thailand 4.0 Based on Dual Vocational Education. Social Science Asia, 2 (2), 76-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-27