ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ของผู้สูงอายุ ในชุมชนสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ประศักดิ์ สันติภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การป้องกันการติดเชื้อ, ไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของทุกประเทศ การแพร่ระบาดจากคนสู่คนของไวรัสโคโรน่า๒๐๑๙ มีอัตราอุบัติการณ์และการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ต้องมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด ได้แก่ การใส่หน้ากาก การล้างมือรวมถึงสุขอนามัยส่วนบุคคล การเว้นระยะห่างทางสังคม และการฉีดวัคซีน ผู้สูงอายุความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ แล้วมีอาการรุนแรงและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าวัยอื่น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุในชุมชนสะลวง-ขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ผู้สูงอายุ ๓๐๐ คนที่ผ่านการคำนวณขนาดตัวอย่างและสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนโดยการสำรวจแบบภาคตัดขวางเข้าร่วมในการวิจัยนี้จากพนักงานทั้งหมด ๒,๕๘๑ คน แบบสอบถามผ่านการตรวจคุณภาพโดยทดสอบในพยาบาล ๓๐ คนในโรงพยาบาลทุติยภูมิ ตติยภูมิ ได้ค่าความตรงเชิงพินิจจากผู้เชี่ยวชาญ ๓ คน เกิน ๐.๕ และค่าความเที่ยงเท่ากับ ๐.๗๘ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และเชิงอนุมาน คือ t-test  โดยใช้โปรแกรม spss ผลการศึกษาพบว่า การปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดต่อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ของพนักงานอยู่ในระดับสูง ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้ การสนับสนุนทางสังคม การเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ระดับการศึกษา และรายได้เทียบกับรายจ่าย  ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการติดต่อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ของผู้สูงอายุ ได้แก่ การรับรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม การเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ คือหน่วยงานของรัฐ หน่วยบริการสุขภาพควรประชาสัทพันธ์ รณรงค์ เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูล และครอบครัวควรสนับสนุนเพื่อสร้างการรรับรู้ และเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และควรสนับสนุนผู้สูงอายุสมัครเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ

References

กชกร สมมัง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้รับบริการงาน ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขศึกษา, 37 (126 ), 8-21.
กู้เกียรติ ก้อนแก้ว ฐิติวรดา สังเกตุ และ ศยามล ภูพิศ (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน โรคไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28 (2),255-262.
จารุวรรณ แหลมไธสง. (2559).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจของ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์เด็กเล็ก กรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์) : ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล. 38(1). 6-28.
ฉันทพิชญา โพธิสาจันทร์ นาตยา เกรียงชัยพฤกษ์ บุญตา เจนสุขอุดม. (2551). พฤติกรรมการป้องกันโรค ไข้หวัดนกของเครือข่ายแกนนำสุขภาพ. ประมวลผลงานวิชาการสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 76-91.
ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4 (1), 33-48.
ที่ทําการปกครอง จังหวัดเชียงใหม่. (2564). วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2564.สืบค้นจาก http://164.115.25.139/mischm2018/analysis/6_Analyze_elderly.pdf
ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ. (2559) ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมู่บ้านต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. 3 (3). 1-14.
ประทานพร อารีราชการัณย์ กรพินท์ มหาทุมะรัตน์ ณัชชา มหาทุมะรัตน์ กีรติกา วงษ์ทิม และ ชนิศา หวงวงษ์ . (2561). การสำรวจความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขอนามัยมือของทันตแพทย์ไทย. J DENT ASSOC THAI, 68(3), 218-229
วรรษมน จันทรเบ็ญจกุล.(2563). การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). เอกสาร ประกอบการบรรยายเวทีจุฬาเสวนาครั้งที่ 23 เรื่อง ตระหนักดีกว่าตระหนก เรียนรู้และป้องกัน โคโรน่าไวรัส 2019. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. (2563). “ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19” . เอกสารเผยแพร่สำหรับประชาชน . กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2563. จาก ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int-pretection 03.pdf. วันที่28 มกราคม 2563.
ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานข่าวกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 วันที่ 15 มิถุนายน 2564.กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564 จาก https//www.moph.go.th.
สัญญา สุปัญญาบุตร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิด A (2009 H1N1) ของประชาชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่6 ขอนแก่น, 18 (2),1-10.
สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2564). ข้อมูลประชากร. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 256ภ. สืบค้นจาก https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/index.php
Abdollahi, E., et al. (2020). Simulating the effect of school closure during COVID-19 outbreaks in Ontario, Canada. BMC Med. 18, 230-238.
Angela, L., et al. (2014). Health literacy and its association with perception of teratogenic risks and health behavior during pregnancy. Journal of Patient Education and Counseling. 96, 171-178.
Aristovnik, A. (2020). Impacts of the COVID-19 Pandemic on Life of Higher Education Students. A Global Perspective. Sustainability, 12, 8438-8472.
Auger, K.A., et al., 2020. Association between statewide school closure and COVID-19 incidence and mortality in the US. JAMA. 324, 859–870.
Centers for Disease Control and Prevention. (2019).Novel coronavirus, Wuhan, China. https://www.cdc.gov/ coronavirus/2019-nCoV/summary.html. Accessed August, 1, 2020.
Chen, X., et al., 2020. Hand hygiene, mask-wearing behaviors and its associated factors during the COVID-19 epidemic: a cross-sectional study among primary school students in Wuhan, China. Int. J. Environ. Res. Public Health. 17, 2893-2899.
Chu, D.K., et al. (2020). Physical distancing, face masks, and eye protection to prevent person-to-person transmission of SARS-CoV-2 and COVID-19: a systematic review and meta-analysis. Lancet. 395, 1973–1987.
Dong, L., Bouey, J., 2020. Public mental health crisis during COVID-19 pandemic, China. Emrging Infect. Dis. 26, 1616–1618.
Edwards, M., Wood, F., Davies, M., & Edwards, A. (2012). The development of health literacy in patients with a long – term health condition: the health literacy pathway model. BMC Public Health, 12, 130-136.
Espino-Díaz, L., et al. (2020). Analyzing the Impact of COVID-19 on Education Professionals. Toward a Paradigm Shift: ICT and Neuro-education as a Binomial of Action. Sustainability, 12, 5646-5660.
Ginggeaw, S., Prasertsri, N. (2015). The relationship between health literacy and health behaviors among older adults who have multi-morbidity. Nursing Journal of Ministry of Public Health. 25(3), 43-54. (in Thai).
Goh, Y., et al. (2020). The face mask: how a real protection becomes a psychological symbol during Covid-19?. Brain Behav. Immun. 88, 1–5.
Ishikawa, H. & Takeuchi, T. (2008). Measuring Functional, Communicative, and Critical Health Literacy Among Diabetic Patients. Diabetes Care. 31(5), 874-879.
Janette, E., et al. (2012). The Role of Health Literacy and Social Networks in Artritis Patients’ Health Information-Seeking Behavior: A Qualitative Study. Journal of Family Medicine. 36(10), 1-6.
Jordan, J.E., Buchbinder, R., & Osborne, R.H. (2010). Conceptualizing health literacy from the patient perspective. Journal of Patient Education and Counseling. 79, 36-42
Koo, J.R., et al. (2020). Interventions to mitigate early spread of SARS-CoV-2 in Singapore: a modelling study. Lancet Infect. Dis. 20, 678–688.
Li, Q., et al. (2020) Early transmission dynamics in Wuhan, China, of novel coronavirus-infected pneumonia. N Engl J Med. 20 (3). 253-264.
Smith, S.K. et al. (2009). Exploring patient involvement in healthcare decision making across different education and functional health literacy groups. Journal of Social Science & Medicine, 69, 1805-1812.
Szepietowski, J.C., et al. (2020). Face mask-induced itch: a self-questionnaire study of 2,315 responders during the COVID-19 pandemic. Acta Dermato Venereologica. 100, 152-160.
Wang, C., et al. (2020). Immediate psychological responses and associated factors during the initial stage of the 2019 coronavirus disease (COVID-19) epidemic among the general population in China. Int. J. Environ. Res. Public Health. 17, 1729-1738.
Wang, C., et al. (2020). A novel coronavirus outbreak of global health concern. Lancet. 395, 470–473.
WHO. (2020). Novel Coronavirus–China. https://www.who.int/csr/don/12- january-2020-novel-coronavirus-china/en/. Accessed 21 June 2020.
WHO. (2020). Novel Coronavirus-Japan (ex-China). https://www.who.int/csr/ don/17-january-2020-novel-coronavirus-japan-ex-china/en/. Accessed 21 June 2020.
WHO. (2020). WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard. https://www.who. int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019. Accessed 21 June 2020.
Wu, J., Bhuyan, S.S., Fu, X. (2020). Enhancing global health engagement in 21st century China. BMJ Glob. Health. 5, 2194-2199.
Zhang, J., et al. (2020). Changes in contact patterns shape the dynamics of the COVID-19 outbreak in China. Science. 368, 1481–1486.
Zhu, N., et al. (2020). A novel coronavirus from patients with pneumonia in China, 2019. N Engl J Med. 20 (1). 54-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25