การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา)

ผู้แต่ง

  • สายฟ้า หาสีสุข โรงเรียนบ้านเมืองแก

คำสำคัญ:

การพัฒนากลยุทธ์, การบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพโรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา)
2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพโรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) 3) ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) และ 4) ประเมินประสิทธิภาพ และปรับปรุงแก้ไขกลยุทธ์ฯ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 193 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น PNI และการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนากลยุทธ์ฯ ผลศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย 4 ด้าน 33 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา ด้านการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ ด้านคุณภาพผู้เรียน 2) ผลการพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์หลัก 10 กลยุทธ์รอง และ 62 วิธีปฏิบัติ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการใช้กลยุทธ์ฯ พบว่า คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมสูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 4) ผลการประเมินประสิทธิภาพกลยุทธ์ฯ พบว่า คะแนนประเมินระดับพฤติกรรมหลังการเข้าร่วมพัฒนาสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน และ ผลการประเมินระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

โรงเรียนบ้านดงเมือง. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR.) โรงเรียนบ้านดงเมือง (ดงเมืองวิทยา) ปีการศึกษา 2560. อุดรธานี: โรงเรียนบ้านดงเมือง.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2549). กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ :
เอ็กซเปอร์เน็ท.
ทัศพร ปูมสีดา. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงนุช สุระเสน. (2561). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
นิตยา เทพอรุณรัตน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงทพฯ:
สุวีริยาสาส์น.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). แนวคิดและหลักการจัดทำแผนกลยุทธ์ การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
วินุลาศ เจริญชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์การสมรรถนะสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ:บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2560). คู่มือการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุมล ชุมทอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็กเพื่อ เป็นสถานศึกษาในการขอรับรางวัลพระราชทาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระดับกลุ่มจังหวัดที่ 3. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 9(2), 207-219.
อำรุง จันทวานิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Fidler Brian. (2002). Strategic Management for School Development. London: Chapman Publishing.
Fulston School. (2003). Excellence model, Accessed May, 19, 2018 from http://www.fulstonschools.org.dept/prodev/leadership/model.shtm.
Koontz, H., & Weihrich, H. (1990). Essentials of Management. New York: McGraw-Hill.
Pearce, J.A & Robinson, R.B. (2000). Strategic management. NJ : McGraw-Hill.
Sergiovanni, J. (1991). The principal ship: A reflective practice perspective. Boston: Allyn and Bacon.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York: Harper and Row.
Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2012). Strategic Management and Business Policy. Toward Global Sustainability: Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-26