โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • สายฟ้า หาสีสุข โรงเรียนบ้านเมืองแก

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนา, ผู้นำเชิงนวัตกรรม, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) ศึกษาผลการใช้โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัย แบ่งออก เป็น 4 ระยะ  คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 260 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ระยะที่ 3 พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 4 การนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์  แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินฯ แบบทดสอบความรู้ก่อน - หลังพัฒนา  และแบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติทีใช้ในการวิจัย  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีการจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

           ผลการวิจัยพบว่า 1)  องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 40 ตัวบ่งชี้ 2) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นด้าน  ที่มีค่าสูงที่สุด คือ ผู้นำทางความคิด รองลงมาคือ ด้านการเป็นผู้นำทีม และด้านการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้  3) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. เนื้อหามี 6 โมดูล 4. กิจกรรมการพัฒนา 5. การวัดและประเมินผล และผลการประเมินโปรแกรมฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก4) การนำโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปใช้พัฒนากลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ 4.1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบความรู้ ของผู้บริหารสถานศึกษา ก่อน - หลังการใช้โปรแกรมฯ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนใช้โปรแกรมฯ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.2 การวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน. (2561). [ออนไลน์]. ผู้นำด้านนวัตกรรม. เข้าถึงได้จาก: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/466874.
ขวัญชนก โตนาค. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร
ทองหล่อ เดชไทย. (2544). ภาวะผู้นำ: เพื่อการบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญมี ก่อบุญ. (2553). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิมพ์พิศา ชัชชวพันธ์.(2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จุฑาธิป อินทรเรืองศรี. (2549). การศึกษาตัวชี้วัดความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของกลุ่มการ พยาบาลโรงพยาบาลศูนย์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2549). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตรงของประสิทธิผล ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิทยากร เชียงกูล. (2547). คู่มือการพัฒนาตนเองและพัฒนาภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: สายธาร. 44
สุนีย์ ภิรมย์ประเมศ. (2551). การศึกษาเพื่อสารวจองค์กรนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี.
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2547). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2558). การบริหารนวัตกรรมแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสถียร พะโยธร. (2560). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลสำหรับสำผู้บริหารสถานศึกษา ระดับต้นโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การพัฒนามาตรฐานคุณภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษาและการวางระบบการประเมินภายใน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2554). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Bass, B.M. & Avolio, B.J. (1990). Transformational leadership development. California: Consulting Psychologists Press.
Barr, M.J and KeatingL.A.(1990).“Introduction : Elementsnof program development,” Developincr effective student services program. San Francisco : Jossey – Bass Publishers,
Caffarella, Rosemarys. (2002). “Planning : Programs for Adult Learners : A Practical Guide for Educations” Trainers And Staff Developers. San Francisco : Jossey – Bass Publishers.
Daft, R.L. (2008). The leadership experience. 4th ed. Mason, OH: Thomson south-western.
Drucker, P.F. (1995). Management: tasks, responsibilities, practices. london: butterworth heinemann Ltd.
Knowles, Malcolm S. (1980). The Modem Practice of Adult Education from Pedaeow to Andragogy. New York : The Adult Education company.
Rogers, E.M. (1995). Diffusion of Innovation. 4th ed. NY: The Free Press.
Kuczmarski, Thomas D. (2003). What is Innovation? And Why aren’t Companies Doing More of It. Journal of Consumer Marketing. 20 (6).
Sherwood, Dennis. (2001). Smart Things to Know About Innovation & Creativity. Oxford : Capstone Publishing Limited.
Von Stamm, Bettina. (2008). Managing Innovation, Design and Creativity. Chichester: John Wiley & Sons. Jong, Jeroen P. and Den Hartog,
Deanne N. (2007). How Leaders Influence Employees’ Innovative Behaviour.
European Journal of Innovation Management. 10 (1).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-26