การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การวิจัยและพัฒนา, แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STADบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
2) สร้างและประเมินแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา จำนวน 32 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหานักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง ขาดความรู้ความเข้าใจจากการอ่านภาษาอังกฤษ จำคำศัพท์ที่ถาวรไม่ได้ 2) แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 80.64/80.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 3) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด
References
ภาษาไทย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
เกษฎา ไชยวงษ์จันทร์. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จันทิมา วัฒนานนท์เสถียร. (2558). ผลการใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาอังกฤษ เรื่องการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยการใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD สําหรับนักเรียนชั้มัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ปรัชญาพร จันพุทซา. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียน โดยใช้การเรียนรู้เทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พิเชษฐ์ เลิศวรรัตติกุล. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ปีการศึกษา 2560. ปทุมธานี.
โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2545). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: เดอะโนว์เลจ.
สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2545). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้น.
อุบลวรรณ ปรุงวนิชพงษ์. (2551). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมการอ่านให้คล่องสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ภาษาต่างประเทศ
Duangloi M. (2015). Factors affecting English reading problems of students in Rajamangala University of Technology Krungthep. Journal of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 3 (1), 151-65.
Narkprom N, Poosiripinyo V, Saito S. (2016). An investigation of English reading problems of 4th year English major students in the Faculty of Education, Phetchabun Rajabhat University. In: 16th National Conference Seminar and Research Presentation of Ratchphat Graduate Student Network in the North.
Slavin, Robert E. (1995). Educational Psycho logy. 4 th ed. New York: Allyn and Bacon.
Turner K, Boonprasithi T, Pinyomit S. (2010). Effects of an integrating academic service project into English course for nursing students. Journal of Nursing Education, 3 (2), 28-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการแสงอีสาน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.