การศึกษาแนวทางการพัฒนาบทบาททีมสหวิชาชีพต่อการเลี้ยงดูเด็กด้วยวินัยเชิงบวก ในสถานรองรับเด็กแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • Keerati Leawsakul Thammasat University

คำสำคัญ:

บทบาททีมสหวิชาชีพ; วินัยเชิงบวก; การเลี้ยงดูเด็กด้วยวินัยเชิงบวกในสถานรองรับเด็ก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาบทบาทของทีมสหวิชาชีพต่อการเลี้ยงดูเด็กด้วยวินัยเชิงบวกในสถานรองรับเด็กแห่งหนึ่ง ผลการวิจัย พบว่า ทีมสหวิชาชีพในสถานรองรับเด็กมีปัญหาอุปสรรคจากทีมสหวิชาชีพในการเลี้ยงดูเด็กด้วยวินัยเชิงบวก คือ 1) การขาดองค์ความรู้และทักษะในการเลี้ยงดู 2) ขาดความต่อเนื่อง     ในการติดตามเด็กตามแผนพัฒนาเด็กรายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) และ 3) ภาระงานที่ได้รับมอบหมายไม่สัมพันธ์กับจำนวนบุคลากร ในส่วนของปัญหาอุปสรรค      จากหน่วยงานที่แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) นโยบาย แผนงานหรือโครงการของหน่วยงานยังไม่ให้ความสำคัญต่อการเลี้ยงดูเด็กในสถานรองรับเด็กด้วยวินัยเชิงบวกและยังไม่มี        ความชัดเจน 2) ขาดแคลนทรัพยากรสนับสนุนการทำงานที่จำเป็นต่อการเลี้ยงดูเด็กด้วย     วินัยเชิงบวก และ 3) สวัสดิการคนทำงานที่ยังมีความเหลื่อมล้ำ โดยที่ทีมสหวิชาชีพใน      สถานรองรับเด็กมีการเสนอรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กตามบทบาทหน้าที่ของทีมสหวิชาชีพ       ด้วยแนวคิดวินัยเชิงบวกตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมายระยะยาวในการเลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้การเลี้ยงดูเด็กมีความเป็นเอกภาพและสามารถนำไปปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน        2) การเข้าใจเด็กที่มีความหลากหลายทั้งช่วงวัยและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จึงจำเป็นต้อง มีศูนย์การเรียนรู้ เพื่อจัดกิจกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาและบำบัดเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม  3) การให้ความอบอุ่น เอาใจใส่และให้เวลากับเด็กอย่างสม่ำเสมอ การสัมผัส การให้กำลังใจ ชมเชย โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อเด็กด้วยความเสมอภาค 4) การให้แนวทาง โดยการปฏิบัติตนเป็นตัวแบบที่ดี การสอนให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำในอนาคต รวมถึงการควบคุมอารมณ์ของผู้เลี้ยงดู และ 5) การแก้ปัญหา โดยการสอนให้เด็กแก้ไขปัญหาของตนเองอย่างถูกต้อง เปิดโอกาสให้เด็กรู้จักรับผิดชอบการกระทำแก้ไขปัญหาของตนเอง   โดยไม่นำปัญหาของเด็กไปเปรียบเทียบ เพื่อช่วยเหลือเด็กให้มีการเจริญเติบโตอย่างถูกต้องเหมาะสมตามพัฒนาการตามวัยของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขควบคู่กันไป รวมถึงสร้างเสริมทักษะชีวิตให้เด็กสามารถกลับสู่ครอบครัวหรืออยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2559). การจัดบริการสวัสดิการสังคมให้กับเด็กในสถานรองรับ 30 แห่ง, สืบค้นจาก : https://www.dcy.go.th/webnew/main/services//130301.pdf, เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564.

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2562). นโยบายการพัฒนาระบบคุณภาพสถานรองรับเด็ก. สืบค้นจาก : https://www.dailynews.co.th/article/688634, เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564.

เกศวดี ไกรนอก. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อน สังกัดกรม กิจการเด็กและเยาวชน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์, ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์. (2552). เด็กกับการเรียน พ่อแม่ ครู แพทย์และเด็กแก้ไขได้.นิตยสารหมอ ชาวบ้าน, เล่มที่ 364 ประจำเดือนสิงหาคม 2552.

จิราภรณ์ อรุณากูร. (2562). “วินัยเชิงบวก” แนวทางเลี้ยงลูกยุคใหม่ที่ท้าทาย แต่ได้ผล เกินคุ้ม. สืบค้นจาก : https://www.sanook.com/women/136037/, เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564.

โจน อี เดอร์แรนท์. (2007). การสร้างวินัยเชิงบวก ความเข้าใจที่ถูกต้องและวิธีนำไปใช้. กรุงเทพฯ: บริษัท คีน มีเดีย (ประเทศไทย) จำกัด

ชุลี สงวนกิจ. (2550). การพัฒนาทักษะของผู้ปฏิบัติงานเพื่อการบริการในสถานสงเคราะห์เด็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม.

ณัฐวดี ณ มโนรม. (2547). คู่มือปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในกระบวนการคุ้มครองเด็ก. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ทิพสุคนธ์ ศรีแจ่ม. (2548). การพัฒนาบุคลากรพี่เลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนสังกัดกรม พัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นงพงา ลิ้มสุวรรณ. (2557). จิตวิทยาการเลี้ยงดูและอบรมเด็ก. สืบค้นจาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/26043, เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564.

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2559). การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการพัฒนา Executive Function ของลูก. ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์, สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2561). เลี้ยงลูกถึงใจ ด้วยวินัยเชิงบวก. สืบค้นจาก : https://thepotential.org/knowledge/positive-discipline/, เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564.

ปาริชาต ทองคำ. (2546). ความรู้และความต้องการของพี่เลี้ยงในการส่งเสริมการปฏิบัติงานดูแลเด็ก อ่อนในสถานสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม.

ฝ่ายนิติการ กองกลาง สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และ ผู้สูงอายุ. (2555). เลี้ยงลูกถูกวิธี : คู่มือมาตรฐานขั้นต่ำในการอุปการะเลี้ยงดูเด็กตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักงาน, 2555

ภัทรยา เมธาพร บ.ก. เรียบเรียง. (2554). สารานุกรมพฤติกรรมเด็กเพื่อตรวจสอบและพัฒนา IQ & EQ. กรุงเทพฯ : มา ยิก

มณี ภิญโญพรพาณิชย์. (2556). รักวัวให้ผูก...รักลูกให้ใจ. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.

มูลนิธิสุขภาพไทย. (2556). โครงการพลังอาสาสมัครสร้างสุขให้เด็กในสถานสงเคราะห์. สืบค้นจาก : http://www.thaihof.org/อาสาสร้างสุข/, เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564.

รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ. (2550). สังคมวิทยา. สงขลา: ไทยนำ.

ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2549). กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการ อุปการะ เลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล พ.ศ. 2549. สืบค้น จาก : http://law.m-society.go.th/law2016/law/view/10, เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564.

ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2555). ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจอมมะณี.(2552). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. สืบค้นจาก : http://muang.udonthani.police.go.th/manatsananit48215/data/d4.doc, เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564.

สถาบันราชานุกูล. (2551). สายใย พันผูก เลี้ยงลูกทางบวก Positive Parenting.กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิชชิ่ง.

สมบัติ ตาปัญญา. (2550). รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย "การศึกษาเพื่อพัฒนา รูปแบบแนวทางการป้องกันความรุนแรงต่อเด็กแบบยั่งยืน" ปีที่ 2. สำนักงานกองทุน สนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.).

สุภาพรรณ ศรีสุข. (2563). ลูกเป็นแบบไหน บอกได้จากการเลี้ยงดู. สืบค้นจาก : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/83704/-blog-parpres-par-, เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564.

สุมาลี สุขพัฒน์. (2544). ทัศนคติของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ของเด็กใน สถานสงเคราะห์เด็ก สังกัดกองสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น กรมประชาสงเคราะห์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2559). หัวใจสำคัญของการใช้จิตวิทยาเชิงบวกปรับพฤติกรรมลูก. สืบค้นจาก : https://thepotential.org/family/positive-psychology-sixth/, เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564.

เสาวภา พรจินดารักษ์. (2563). เลี้ยงลูกเชิงบวกของหมอเสาวภา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Happy Parenting.

อรธิชา วิเศษโกสิน. (2551). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานสหวิชาชีพของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.

Office of Child Welfare and Protection of Underprivileged Children and the Elderly, Ministry of Social Development and Human Security. Violence against children: children in juvenile observation and protection center, Volume 6. Bangkok: Ministry of Social Development and Human Security; 2012.

The Association of Southeast Asian Nations (ASEAN). The ASEAN guidelines for a non- violent approach to nurture, care and development of children, in all settings [Internet]. Jakarta: ASEAN Secretariat; 2016 Retrieved from https://asean.org/wp-content/uploads/2017/03/ASEAN-Guidelinefor-Non- Violent-Approach_FINAL.pdf, access on Febuary, 6, 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27