The การปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ในเรือนจำกลาง

ผู้แต่ง

  • Nattaporn Peanpitak -

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพที่ดูแลผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ในเรือนจำกลาง และเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพกับผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ในเรือนจำกลาง โดยเป็นการศึกษาวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) จากสหวิชาชีพที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ที่ปฏิบัติงานภายในเรือนจำกลางทั่วประเทศ จำนวน 146 คน ทั้งหมด 23 เรือนจำ ได้แก่ ผู้บังคับแดนหญิง พยาบาลวิชาชีพ นักทัณฑวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา และนักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าต่ำสุด (Minimum) และค่าสูงสุด (Maximum) และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา พบว่า มีการทำงานของทีมสหวิชาชีพกับผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ภายใต้กระบวนการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ ในภาพรวมระดับมาก ( =  4.08, S.D. = 1.00 )เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติงานในขั้นแรกรับมากที่สุด ( = 4.31, S.D. = 0.95 )และขั้นดูแลหลังปล่อยน้อยที่สุด ( = 3.73, S.D. = 1.14 ) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพกับผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ในเรือนจำกลางในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.03 , S.D. = 0.85 )โดยมีปัญหาด้านข้อจำกัดของสถานที่มากที่สุด ( = 4.14 , S.D. = 0.83) และมีปัญหาด้านการประสานงานน้อยที่สุด ( = 3.90, S.D. = 0.89 )ตามลำดับ และผลการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลทั่วไปกับการปฏิบัติงานและปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ในเรือนจำกลางตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ พบว่า ตำแหน่งและเพศที่แตกต่างกันทำให้การปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์ในเรือนจำกลางตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพศและสถานที่ตั้งเรือนจำที่แตกต่างกัน ทำให้มีปัญหาอุปสรรคการทำงานของทีมสหวิชาชีพภายใต้กระบวนการปฏิบัติงานตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

References

กรมราชทัณฑ์.(2557). แผนปฏิบัติการการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2557-2560).สืบค้นจาก:http://lad.correct.go.th/main/?page_id=1195 ,

สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565.

ฑิตฐิตา ธิติธรรมพฤกษ์. (2563). การศึกษาปัญหาอุปสรรคและการพัฒนาประสิทธิภาพการตรวจค้นผู้ต้องขังตามหลักมาตรฐานสากลของเรือนจำในประเทศไทย.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนกันยายน 2563,หน้า 376 – 393.

ดนัยกันต์ จงเฟื่องปริญญาและรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ แอดสกุล (2563) .การขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพด้านแม่และเด็กติดผู้ต้องขังในประเทศไทย. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ปีที่ 28 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม-มิถุนายน 2563 , หน้า 63 – 100.

ถวิล คันธอุลิศ และคณะ (2550) ปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการฝึกวิชาชีพผู้ต้องขังหญิง: ศึกษาเฉพาะกรณีทัณฑสถานหญิงกลาง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รัชนี แก้วกา และคณะ. (2555). รายงานการวิจัยรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด-6 ปี ที่เหมาะสมของผู้ปกครองบ้านขอบเหล็กและบ้านทุ่งกุลาพัฒนา ตำบลเก่ากลอย อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

สังวาลย์ เตชะพงศธร (2563) . เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์. สืบค้นจากhttps://www.nakornthon.com/.ac.th/เทคนิคดูแลตัวเอง,สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน). (2563). รายงานแนวโน้มสถานการณ์เรือนจำโลก. สืบค้นจากhttps:// www.tijthailand.org/th, สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563.

อัยลดา ราชตัน. (2555). การพัฒนาความร่วมมือของคณะอนุกรรมการสหวิชาชีพในการคุ้มครองสิทธิเด็กจังหวัดลำพูน. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. จ.สืบค้นจาก http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/16954/2/mpa30955ir_abs.pdf

, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29