ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับรายได้ของเทศบาลกรณีการจัดเก็บ และการจัดสรรเงิน

ผู้แต่ง

  • สมยศ ปัญญามาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับรายได้ของเทศบาลกรณีการจัดเก็บและการจัดสรรเงิน โดยพิจารณาจากปัญหาการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลและการจัดสรรเงินของเทศบาล 2) เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับรายได้ของเทศบาลกรณีการจัดเก็บและการจัดสรรเงินของต่างประเทศและของประเทศไทย 3) เพื่อวิเคราะห์เสนอแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับรายได้ของเทศบาลกรณีการจัดเก็บและการจัดสรรเงิน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิจัยจากเอกสารทางกฎหมาย ทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสัมภาษณ์และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน

 ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดเก็บเป็นการบริหารรายได้ของเทศบาล เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดเก็บได้ครบถ้วน เนื่องจากขาดเทคนิค วิธีการ รูปแบบ ในการวางแผนจัดเก็บ ประกอบกับผู้มีหน้าที่เสียภาษีมักหาช่องทางในการหลีกเลี่ยงไม่ยอมชำระภาษี และ การจัดสรรเงินของเทศบาล เพื่อจัดทำโครงการบริการสาธารณะมักจะเกิดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ที่จัดทำ ผู้บริหารจะมุ่งเน้นไปที่ภูมิหลังในการเข้าสู้ตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นมากกว่าคุณธรรม จริยธรรม

2) กฎหมายเกี่ยวกับรายได้ของเทศบาลกรณีการจัดเก็บและการจัดสรรเงินซึ่งในหลายประเทศรายได้ของท้องถิ่นมาจากภาษี เป็นรายได้ที่ท้องถิ่นหามาได้เอง โดยท้องถิ่นมีอำนาจที่จะกำหนดประเภทและอัตราภาษีเองภายใต้กรอบกำหนดของกฎหมายภาษีท้องถิ่น

3) จึงเสนอแนะเทศบาล ควรกำหนดนโยบายในการจัดเก็บภาษีโดยการลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ที่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา ควรจัดให้มีทีมงานบุคลากรรับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ เพื่อดำเนินการเร่งรัดการจัดเก็บรายได้ และให้อำนาจในการดำเนินคดีแก่ผู้ชำระภาษีเกินกำหนดเวลา หรือ หลีกเลี่ยง ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการจัดทำโครงการบริการสาธารณะ จากบุคคลภายนอก เป็นผู้แทนประชาชนในการทำหน้าที่ตรวจสอบการอนุมัติงบประมาณโครงการต่างๆ และให้คณะกรรมการตรวจสอบการจัดทำโครงการบริการสาธารณะ ออกแบบสำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เกี่ยวกับความต้องการจัดทำโครงการบริการสาธารณะต่างๆ

References

จรัส สุวรรณมาลา. (2558). การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น บนเส้นทางการกระจายอำนาจของไทยในดุลอำนาจในการเมืองการปกครองไทย.พิมพ์ครั้งที่ 1,กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า

เชาวินทร์ กองผา. (2560). ปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวางอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2546). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: วิญญชน.

พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, มาตรา 35/5

พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496(แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 14 พ.ศ.2562), กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, มาตรา 48

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, มาตรา 59

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, มาตรา 49

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พุทธศักราช 2542 กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, มาตรา 48

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา,มาตรา 250

รวิวรรณ อินทรวิชา.(2560). การศึกษาการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นในเขตเทศบาลเมืองจังหวัด. วารสารการเมืองการปกครอง ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม–สิงหาคม 2560, หน้า 249-259.

วาสนา ถาปินตา.(2554). ความสูญเสียทางการเงินของการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลดอยสะเก็ด. วารสารการบริหารท้องถิ่น, ปีที่ 4 ฉบับที่1 ประจำเดือน มกราคม–มีนาคม 2554, หน้า 126-138

ศิริพร ยศมูล. (2557). การศึกษาศักยภาพการจัดหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาเทศบาลในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ , มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29