การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยหลักการมีส่วนร่วม ของครูและผู้ปกครองโรงเรียนตระพังพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยหลักการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองโรงเรียนตระพังพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช จากกลุ่มประชากรทั้งหมด จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรวัด 5 ระดับ มีค่า IOC เท่ากับ 92.15 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .94 โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) ร่างรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยหลักการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครอง โรงเรียนตระพังพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และ 3) ประเมินรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยหลักการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองโรงเรียนตระพังพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 9 คน ใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบใช้สถิติค่าความถี่และค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยหลักการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองโรงเรียนตระพังพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.35) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การส่งต่อ การป้องกันและการแก้ปัญหา การส่งเสริมนักเรียน และการคัดกรองนักเรียน 2) รูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยหลักการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองโรงเรียนตระพังพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) การคัดกรองนักเรียน (3) การส่งเสริมนักเรียน (4) การป้องกันและแก้ปัญหา และ (5) การส่งต่อ และ 3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของของรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยหลักการมีส่วนร่วมของครูและผู้ปกครองโรงเรียนตระพังพิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยภาพรวมอยู่ในร้อยละ 95.95
References
กนิษฐ์ฎา แก้วจินดา, ฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2560). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการเรียนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร, ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2560, หน้า 118 - 131.
กรรณสพร ผ่องมาส. (2561). การศึกษาการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลา เรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
จุฑามาศ พันสวรรค์, ศิริมาศ โกศัลพิพัฒน์, ชไมมน ศรีสุรักษ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลนครเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2562, หน้า 2 – 17.
ชูชาติ มงคลเมฆ. (2561). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ไชยโคตร และฉลาด จันทรสมบัติ. (2561). การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2563, หน้า 98–108.
ณัฏฐธิดา ชัยสงคราม และยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2560, หน้า 81 – 98.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,หน้า 262 - 265.
ปิยนันท์ พัชรสำราญเดช. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนวัดปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2560, หน้า 119 – 132.
ปรมาภรณ์ สนธิ, พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). แนวทางการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษาของโรงเรียนขนาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (ฉบับวิสาขบูชา) พฤษภาคม – สิงหาคม 2562, หน้า 47 – 60.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์,หน้า 43-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.