ประสบการณ์การผ่านพ้นของผู้ติดสุรา กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี

Experiences in Overcoming Alcohol Addiction: A case study of Ex-staffs at Princess Mother National Institute on Drug Abuse Treatment.

ผู้แต่ง

  • SIRADAPORN SOONTORNPHRUEK Thammasart University

คำสำคัญ:

ประสบการณ์การผ่านพ้น, การติดสุรา, เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจถึงประสบการณ์ในการก้าวข้ามผ่านปัญหาที่เกิดขึ้นในการพยายามหยุดดื่มสุรา พร้อมทั้งปัจจัยที่สามารถสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้สามารถหยุดดื่มสุราได้อย่างถาวร การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยผ่านการสังเกตและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยครั้งนี้ มีทั้งสิ้น 12 ราย แบ่งเป็นผู้ติดสุรา (เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้) จำนวน 4 ราย บุคคลใกล้ชิดผู้ติดสุรา จำนวน 4 ราย และเจ้าหน้าที่ที่ผู้เคยดูแล      ผู้ติดสุรา จำนวน 4  ราย

ผลการศึกษาพบว่า ในการก้าวข้ามผ่านปัญหาที่กว่าจะมาประสบการณ์ในการผ่านพ้นของผู้ติดสุรานั้น                 ล้วนต้องเผชิญกับอุปสรรคที่เป็นเสมือนปัจจัยกระตุ้นที่ผลต่อความเปราะบางทางอารมณ์ อันสามารถก่อให้เกิด          การอนุญาตให้ตนเองกลับไปดื่มสุราซ้ำ โดยปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมการติดสุรานั้น สามารถแบ่งเป็นปัจจัยภายนอก ได้แก่ การดื่มเพื่อหลีกหนีปัญหา การดื่มเพื่อทดแทนสารเสพติดอื่น และปัจจัยภายใน เช่น การดื่มเพื่อกลบเกลื่อนความเศร้า ผิดหวัง หรือเสียใจ ซึ่งการติดสุราได้ส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ตามมา อันนำไปสู่        การพยายามหยุดดื่มสุราที่มีสาเหตุมาจากการอยากฟื้นฟูสภาพร่างกาย การตระหนักรู้ถึงโทษของสุรา และ   การหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในครอบครัว และการทำให้ครอบครัวสบายใจ หากแต่เมื่อหยุดสุราได้ไม่นาน ก็มีเหตุให้กลับไปดื่มซ้ำอันเกิดจากการใช้สารเสพติดอื่นทดแทน การเข้าใกล้ความเสี่ยง การขาดทักษะในการแก้ปัญหาและจัดการความอยาก การไม่ยอมรับว่ามีปัญหาจากการดื่มสุรา การมีทัศนคติที่ดีต่อการดื่มสุรา การกลับไปคลุกคลีกับเพื่อนที่ดื่มสุรา และการขาดความรักจากครอบครัว หากแต่เมื่อการติดสุราเริ่มส่งผลกระทบที่มากขึ้นก็เป็นเหตุให้ผู้ติดสุราตั้งใจที่จะหยุดดื่มสุรา โดยมีจุดเปลี่ยนสำคัญ คือ ต้องการลบคำสบประมาท การรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า และการยอมรับความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากการติดสุรา และสิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้สามารถหยุดดื่มสุราอย่างต่อเนื่องนั้น ได้แก่ การเรียนรู้จากประสบการณ์ การรับรู้คุณค่า การมีเป้าหมายในชีวิต การยอมรับข้อผิดพลาดและให้อภัยตนเอง อีกทั้งการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว บุคลากรทางการแพทย์ และเครือข่ายอื่น ๆ ยังถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้ติดสุรามีความพยายามในการเปลี่ยนแปลงตนเอง จนสามารถหยุดดื่มสุราได้อย่างถาวร

References

จิตภัณฑ์ กมลรัตน์. (2562). ผลของโปรแกรมการควบคุมตนเองร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ติดสุรา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้องช้อยนาง (นามสมมติ). (2564, 17 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย ศิรดาภรณ์ สุนทรพฤกษ์ [การบันทึกเสียง]. เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จังหวัดปทุมธานี

นางฟ้อนเมือง (นามสมมติ). (2564, 16 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย ศิรดาภรณ์ สุนทรพฤกษ์ [การบันทึกเสียง]. เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จังหวัดปทุมธานี

นายทันคุณ (นามสมมติ). (2564, 28 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย ศิรดาภรณ์ สุนทรพฤกษ์ [การบันทึกเสียง]. เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จังหวัดปทุมธานี

นายแทนไท (นามสมมติ). (2564, 7 ธันวาคม). สัมภาษณ์โดย ศิรดาภรณ์ สุนทรพฤกษ์ [การบันทึกเสียง]. เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี จังหวัดปทุมธานี

นุชจรินทร์ อินต๊ะรัตน์. (2558). บทบาทของคนในครอบครัวในการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงพยาบาลสวนปรุง เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิมญลักษณ์ ปัญญา. (2555). ประสบการณ์การกลับเป็นซ้ำของผู้สูงอายุที่เป็นโรคติดสุรา. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เพ็ญพักตร์ ดารากร ณ อยุธยา. (2556). ความสำเร็จในการเลิกสุราของผู้ป่วยสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวช. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 2556, หน้า 1-15.

ศโรชา บุญยัง, เพ็ญพักตร์ อุทิศ และสุนิศา สุขตระกูล. (2562). ประสบการณ์การตีตราตนเองในผู้ติดแอลกอฮอล์. วารสารแพทย์นาวี, ปีที่ 46 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน – ธันวาคม 2562, หน้า 640-652.

โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ, อรัญญา บุญธรรม, มงคล ส่องสว่างธรรม, กมลณิชา อนันต์, ธันยพร บัวเหลือง, และ ศรีสกุล เฉียบแหลม. (2559). การปรับพฤติกรรมการดื่มสุราในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, ปีที่ 27 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2559 หน้า, 160-168.

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. (2562). สถิติการบำบัดรักษาผู้ป่วยในปีงบประมาณ 2557-2562.( อัดสำเนา).

สุภา อัคจันทร์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, และภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความตั้งใจใน การหยุดดื่มของผู้ติดสุราที่กลับไปดื่มซ้ำ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – เมษายน 2560, หน้า, 17-28.

อุดมชัย อมาตยกุล. (2562). การแก้ไขปัญหาการดื่มสุราเชิงพุทธบูรณาการ. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-24