การพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการโปรแกรมด้วย Scratch โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • PHATTHICHAI RUEANGDETKETUHIRAN -

คำสำคัญ:

ชุดการสอน,, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, , การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กับการเรียนรู้แบบปกติ (4) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กับการเรียนรู้แบบปกติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experiment Research) ผู้วิจัยดำเนินการทดลองตามแผนการวิจัยแบบสองกลุ่มมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ประชากรที่ใช้ ได้แก่นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ด้วยการใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้การสุ่มแบบจับฉลาก จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 41 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) ชุดการสอนรายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) จำนวน 4 แผน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch แบบวัดเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ย t-test for Independent

          ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของการพัฒนาชุดการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) รายวิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องการสร้างโปรแกรมด้วย Scratch มีประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 80.73/81.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนหมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.68 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.07 3) สรุปผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนที่ได้รับการทดลองโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) กับการใช้วิธีการเรียนรู้แบบปกติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01** 4) สรุปผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ที่เรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) มีผลการประเมินความพึงพอใจของภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.77, S.D. = 0.38) ซึ่งสูงกว่า วิธีการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01**

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ติรยา นามวงษ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ประกอบชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. รายงานการวิจัย. โรงเรียนบ้านดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2543). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา :รายการสื่อสารสนเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ SR printing,หน้า 91

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปาริฉัตร ภู่ทอง และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2559). การพัฒนาชุดการสอนสำหรับครูโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนพัฒนาท่าจีน. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม 2559, หน้า 573 – 587.

พงศกร ลอยล่อง. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL). วารสารวิจัยรำไพพรรณี, ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2564, หน้า 109 – 117.

ลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การวิจัยพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 38 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2558, หน้า 141 - 148.

วชิรศักดิ์ มีสวัสดิ์ และเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาการคำนวณ เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้การเรียนการสอนตามแนวคิด STEM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองเม็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารมหาจุฬาตานีปริทรรศน์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564, หน้า 16 - 22.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based Learning (CBL). วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม–ธันวาคม 2558, หน้า 23 - 37.

Torrance, E.P(1962). Guiding Creative Talent. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall, Inc. Retrieved from: http://dx.doi.org/10.1037/13134-000, Accessed on January 21st, 2023

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-15