โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
คำสำคัญ:
โปรแกรม, ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี , ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมฯ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของโปรแกรมฯ ประชากร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 177 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จำนวน 121 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ผลการหาค่า IOC โดยผู้เชี่ยวชาญ ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง .08-1.00 ตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีวิธีปฏิบัติเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระยะที่ 2 การสร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 ร่างโปรแกรมฯ ตอนที่ 2 ตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group technique) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร่างโปรแกรมฯ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโปรแกรมฯ ระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมฯ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้างานวิชาการ จำนวน 18 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า
1.สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.46) อยู่ในระดับมาก สภาพอันพึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.93) อยู่ในระดับมากที่สุด และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (PNImodified = 0.123) ด้านการวัดและการประเมินผล (PNImodified = 0.120) ด้านการสนับสนุน การบริหาร และการดำเนินการ (PNImodified = 0.100) ด้านความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ (PNImodified = 0.091) และด้านสังคม กฎหมาย และประเด็นทางจริยธรรม (PNImodified = 0.076) ตามลำดับ
2.โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 1) หลักการ 2)วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ ประกอบด้วย 5 โมดูล ได้แก่ 1) ผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ 2) การใช้เทคโนโลยีในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล 3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน 4) การใช้เทคโนโลยีในการวัดและประเมินผล และ 5) ความรับผิดชอบและจริยธรรมการใช้เทคโนโลยี 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการประเมินความเหมาะสมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.31) อยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.33) อยู่ในระดับมาก
3.ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำโปรแกรมไปใช้ ความเหมาะสมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.12) อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.40) อยู่ในระดับมาก
References
ชวิกา ทีเจริญและเพ็ญวรา ชูประวัติ. (2562). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำ เชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. An onlinejournal of Education (OJED), ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2562, หน้า 1-12.
นิคม นาคอ้าย. (2549). องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลภาวะผู้นำเชิงอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารกาศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บรรจบ บุญจันทร์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุษบา เสนีย์. (2562). รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2562, หน้า 27-40.
เบญจา ภูริพงศธร. (2565). คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing), (Thai MOOC ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา. สืบค้นจาก https://library.wu.ac.th/km/CloudComputing, สืบค้นเมื่อ 14 กรกฏาคม 2566.
ปรเมศวร์ วรรณทองสุก. (2561). โปรแกรมการพัฒนาภาวะผู้นำครูทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รัตนาภรณ์ วัชรอัตยาพล. (2563). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาใน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ลัดดาวรรณ ศรีนวลจันทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนวัดลานนาบุญ. การค้นคว้าอิสระ, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัย ศิลปากร.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล= School Management in Digital. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนันทา สมใจ. (2561). การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี. Dusit Thani Colleg Journal, ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 2561, หน้า 350-363.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3. (2566). รายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ขอนแก่น:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.