การปฏิบัติงานสหวิชาชีพในการให้บริการแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ศึกษากรณี ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
-
คำสำคัญ:
การปฏิบัติงานสหวิชาชีพ, เด็กที่ถูกทารุณกรรม, พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของสหวิชาชีพในการให้บริการแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรม รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของสหวิชาชีพแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลกับสหวิชาชีพภายในโรงพยาบาล และสหวิชาชีพภายนอกโรงพยาบาล จำนวน 16 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง
ผลการศึกษาพบว่าสหวิชาชีพมีการปฏิบัติงานตามกระบวนการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 กำหนดไว้ ได้แก่ (1) การค้นหาข้อเท็จจริงหรือการสืบสวนสอบสวน (2) การคุ้มครองป้องกันเฉพาะหน้า (3) การบำบัดฟื้นฟู (4) การส่งเด็กคืนสู่สังคม (5) การป้องกันการถูกกระทำซ้ำด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงในครอบครัวและชุมชน
ปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติงานของสหวิชาชีพในการให้บริการแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรมได้แก่ (1) ด้านความเข้าใจ พบปัญหาด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน (2) ด้านการประสานงานและการส่งต่อ พบว่าไม่มีระบบการประสานงานในช่วงวันหยุดราชการ ไม่มีระบบการส่งต่อข้อมูลการดำเนินการช่วยเหลือ (3) ด้านการบริหาร มีข้อจำกัดด้านแนวทางปฏิบัติร่วมกันแบบสหวิชาชีพยังไม่ชัดเจน บุคลากรไม่เพียงพอ ไม่มีงบประมาณ สถานที่ให้บริการไม่เหมาะสม และไม่มีนโยบายส่งเสริมการปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ
แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานสหวิชาชีพแก่เด็กที่ถูกทารุณกรรม 1) ด้านความเข้าใจ ควรพัฒนาความรู้ด้านกฎหมาย ทักษะการให้ความช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรม และจิตวิทยาการสร้างสัมพันธภาพ 2) ด้านการประสานงานและการส่งต่อ ควรมีคู่มือ มีการจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพของสหวิชาชีพ และมีการประชุมพัฒนาเครือข่าย 3) ด้านการบริหาร ควรมีหลักสูตรอยู่ในการเรียนให้แก่นักศึกษาแพทย์ และพยาบาล มีการจัดการทรัพยากรเครือข่ายในการปฏิบัติงาน และมีการสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคลากร กระทรวงสาธารณสุขควรกำหนดโครงสร้างศูนย์พึ่งได้ จัดทำแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และสนับสนุนด้านงบประมาณในการปฏิบัติงาน
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1) กระทรวงสาธารณสุขควรมีการปรับโครงสร้างงานศูนย์พึ่งได้ ให้ชัดเจน 2) กระทรวงสาธารณสุขควรมีการจัดทำแนวปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่มีการปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน 3) หน่วยงานด้านกฎหมายควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงาน 1) โรงพยาบาล ควรมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายภายในจังหวัด 2) ศูนย์พึ่งได้ ควรมีการพัฒนาบุคลากรเพิ่มศักยภาพบุคลากรในหน่วยงาน
References
ชมพูนุช พัฒนพงษ์ดิลก. (2558). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวของศุนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสังคม, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐวดี ณ มโนรม. (2547). การคืนเด็กสู่สังคม ใน ศรีเวียง ไพโรจน์กุล และคณะ (บก.), คู่มือปฏิบัติงานของทีมสหวิชาชีพในกระบวนการคุ้มครองเด็ก. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก.
ทัศนลักษณ์ วงศ์สุริยศักดิ์. (2552). การรับรู้ของนักสหวิชาชีพในการพิทักษ์คุ้มครองสิทธิผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสตรีศึกษา, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นัยนา ธนวัฑโฒ. (2551). การทำงานของสหวิชาชีพในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหญิงที่ถูกทารุณกรรมทางเพศ : วิเคราะห์จากมุมมองสตรีนิยม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสตรีศึกษา, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญเสริม หุตะแพทย์. (2552). ทัศนคติและบทบาทของทีมสหวิชาชีพต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว.รายงานการวิจัย.สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เบญจพร ปัญญายงค์ และอชิมา เกิดกล้า. (2552). แนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือ เด็ก สตรีและบุคคลในครอบครัวที่ถูกกระทำรุนแรง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
รจเรข โกมุท. (2553). การส่งเสริมการทำงานของทีมสหวิชาชีพในการคุ้มครองเด็กที่ถูกทารุณกรรม จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ราตรี แฉล้มวารี. (2550). การปฏิบัติงานสหวิชาชีพในการช่วยเหลือเด็กถูกทารุณกรรม. การค้นคว้าอิสระปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์, คณะคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาสนา แก้วนพรัตน์. (2552). เอกสารสรุปสาระสำคัญการอบรมความรู้และทักษะการปฏิบัติงานสหวิชาชีพ. (อัดสำเนา). กรุงเทพฯ: มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก.
ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (2566). สถิติการให้บริการช่วยเหลือเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรงของศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. (อัดสำเนา). นครราชสีมา: โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.
สรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์, และพยงค์ศรี ขันธิกุล. (2546). คู่มือปฏิบัติงานในการบำบัดฟื้นฟูหญิงและเด็กที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2567). สถิติการให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำความรุนแรงของศูนย์พึ่งได้. สืบค้นจาก https://phdb.moph.go.th/, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567
อรธิชา วิเศษโกสิน. (2551). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานสหวิชาชีพของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสังคม, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัยลดา ราชตัน. (2555). การพัฒนาความร่วมมือของคณะกรรมการสหวิชาชีพในการคุ้มครองสิทธิเด็กจังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อารีรัตน์ นฤดมพงศ์. (2547). ศึกษาเรื่องการบริหารการจัดบริการในการให้ความช่วยเหลือเด็กถูกทารุณกรรม ศึกษาเฉพาะกรณี เด็กถูกทารุณกรรมของสำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสังคม, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไอลดา ขัติยวรา. (2556). การส่งเสริมบทบาทของสหวิชาชีพในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว:กรณีศึกษาจังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.