กลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การบริหาร, สถานศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 327 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมาจำนวน 282 คน คิดเป็นร้อยละ 86.54 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 3.62) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 4 องค์ประกอบ โดยเรียงระดับจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (𝑥̅ = 3.67) ด้านการกำหนดกลยุทธ์ (𝑥̅ = 3.65) ด้านการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ (𝑥̅ = 3.61) ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ (𝑥̅= 3.55) และ 2) ผลการเปรียบเทียบกลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 พบว่า เพศและระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กัลยา อาทรกิจ และรุงชัชดาพร เวหะชาติ. (2561). ภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 โดยบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยทักษิณ, หน้า 1-7.
ขนิษฐา เนียมชุมแสง และสุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2566). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วารสารวิทยาการจัดการ, ปีที่ 5 ฉบับ ที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม 2566, หน้า 1-20.
จำรัส มุ่งเฝ้ากลาง, ประสงค์ สงนอก, มนัสชัย คชสิทธิ์, สุรวุฒิ คนองมาตย์,และบุญหลาย รัตน์สันเทียะ. (2566). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. วารสารวิทยาการวิจัยและ วิชาการ, ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมีนาคม - เมษายน 2567, หน้า 1-14.
เจริญ ภูวิจิตร์. (2566). กลยุทธ์ผู้บริหารสถานศึกษาพร้อมนำการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นจาก https://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20230317-1.pdf, สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566
ชลธิชา ร่มโพธิ์รี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธงชัย สมบูรณ์. (2558). การบริหารและจัดการมนุษย์ในองค์กร.กรุงเทพมหานคร.ปราชญ์สยาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8 กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภัทรมน อินไหม. (2558). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหาสถานศึกษาของโรงเรียนกะทู้วิทยา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรรณิศา บุรินทร์กุล, พระครูพิจิตรศุภการ, และ มะลิวัลย์ โยธารักษ์. (2563). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 3. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2563, หน้า 103-118.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. (2565). รายงานแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. ขอนแก่น. กลุ่มนโยบายและแผน.
สุปรียา ชินพะวอ. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Krejcie, R.V., and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal for Education and Psychological measurement No.3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.