รูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การท่องเที่ยว, วัฒนธรรมสร้างสรรค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของทางวัฒนธรรมในล้านนา 2) เพื่อพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา และ 3) เพื่อจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือจากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 28 รูป/คน การปฏิบัติการกลุ่มเป้าหมาย 21 รูป/คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1. ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบ่งออก 4 อย่าง คือ 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ได้แก่ มิติด้านศาสนา มิติด้านอัตลักษณ์และภูมิปัญญา มิติด้านธรรมชาติ และมิติทางด้านศิลปะ 2) ศักยภาพการพัฒนาพื้นที่ทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ คือ แหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนา เชิงชาติพันธุ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น และเชิงธรรมชาติใกล้พื้นที่สร้างสรรค์ 3) วิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามโมเดล BCG อาศัยปัจจัย 5 ด้าน คือ (1) อาหารพื้นบ้าน (2) บทบาทเจ้าของพื้นที่ (3) ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (4) กิจกรรมท้องถิ่น และ (5) เทศกาลในท้องถิ่น
2. การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวมีขั้นตอน ดังนี้ 2.1) การพัฒนาประเพณี วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ชุมชน 2.2) กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวพื้นที่สร้างสรรค์ 2.3) การออกแบบกิจกรรมเชื่อมโยงความเชื่อ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พื้นที่ท่องเที่ยวหลัก และการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย 2.4) การถอดบทเรียนและคืนข้อมูลแก่ชุมชน
3.โปรแกรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 3 โปรแกรม คือ 1) โปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน 2) โปรแกรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้านศิลปะ และ 3) โปรแกรมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์กับธรรมชาติ ซึ่งโปรแกรมการท่องเที่ยวนี้จะยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนตามโมเดล BCG และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน
References
กฤชณัท แสนทวี ภัทธิรา ธีรสวัสดิ์ และชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ. (2562). แนวทางการจัดการนวัตกรรมการสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้, ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มิถุนายน 2562, หน้า 1 – 11.
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2557). การพัฒนานโยบายการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานีและนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, หน้า 34.
โครงการหลักนิเวศน์ล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบวิถีต้นธาร สานตำนานล้านนา พื้นคุณค่าผญาเมือง. เชียงใหม่: บี.เอส.การพิมพ์, 2540, หน้า 1.
ชัยณรงค์ ศรีรักษ์. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานมรดกภูมิปัญญาชุมชนบ้านโนนทัน จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเดือนมกราคม - มิถุนายน 2565, หน้า 86 – 111.
ชิดชนก อนันตมงคลกุล และกัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต”. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2562, หน้า 1 – 20.
ชิตาวีร์ สุขคร. (2563). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย. Journal of Sustainable Tourism Development, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน – ธันวาคม 2563, หน้า 1 - 7.
ฐมจารี ปาลอภิไตร ชนิดาภา แก้วฉลวย และ วริศรา พูลศิริวรรณะ. (2562). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานของชุมชน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2562, หน้า 58 - 68.
ฐิตาภา บำรุงศิลป์ รัศมี อิสลาม และพิศาล แก้วอยู่. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการอนุรักษ์/ต่อยอดวัฒนธรรมลาวครั่ง บ้านกุดจอก จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - มิถุนายน 2565, หน้า 45 – 61.
ฐิติรดา เปรมปรี. (2562). ชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวด้วยทุนทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ประเพณีแห่นาคโหด บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารกระแสวัฒนธรรม, ปีที่ 20 ฉบับที่ 38 ประจำเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2562, หน้า 40 – 52.
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี. (2565). ภาพรวมของสภาวะอุตสาหกรรมของธุรกิจการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์. สืบค้นจาก https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSGetFile.aspx?TransID=251523&TransFileSeq=4,สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565.
มานิตย์ โกวฤทธิ์. (2563). ศิลปะเชิงพุทธสู่วิถีชุมชนบนผนังพื้นที่สาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – มิถุนายน 2563, หน้า 233 – 251.
รัฐบาลไทย. (2565). ด้านวัฒนธรรมท่องเที่ยวฯ. สืบค้นจาก https://www.thaigov.go.th-/news/contents/details/45839, สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565.
รุ่งทิวา ท่าน้ำ และอธิป จันทร์สุริย์. (2563). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่นบนฐานแนวคิด การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2563, หน้า 89 – 110.
ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของกลุ่มจังหวัดล้านนา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร วิทยาเขตแพร่, ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – มิถุนายน 2564, หน้า 75 - 89.
เสกสรร สนวา และคณะ. (2563). การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามวิถีชีวิตของคนในชุมชน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน 2563, หน้า 259 - 276.
อธิป จันทร์สุริย์ และสุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์ความเป็นไทยตลาดไทยย้อนยุคบ้านระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, ปีที่ 19 ฉบับที่ ประจำเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2563, หน้า 141 – 162.
อัครินทร์ อังกูรวงษ์วัฒนา. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนโดยใช้ศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2561, หน้า 11 - 17.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการแสงอีสาน Saeng-Isan Academic Journal ISSN:3027-6152(Print), ISSN:3027-6160(Online)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เชียนบทความโดยตรง ซึ่งวารสารไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ผู้เขียนทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์เผยแพร่นั้น จะต้องไม่เป็นบทความที่กำลังอยู่ในการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นหรือเคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หากมีการใช้ภาพ ข้อความหรือตารางของผู้เขียนหรือผู้นิพนธ์ท่านอื่น ผู้เขียนจะต้องอ้างแหล่งที่มาหรือเจ้าของลิขสิทธ์
Publication Ethic:
The detail published in Saeng Isan Journal is opinion and responsibility of the authors, and it is not relevant with the jouranl. Besides, the authors must certify that the original manuscript is not in the process to publish in other journals or used to publish in other journals. If the authors use paragraphs, pictures or tables from others, the athours must refer to the original sources.
Article Consideration:
Each article will be published by a panel three journalists with expertise in relevant fields, and get the editorial approval before publishing. The review is in the form of The article's double blind.
To comply with copyright law. The author must sign the copy of the article submission form to the journal. In addition, the author must confirm that the original article submitted to the journal is only one publication in Saeng Isan Journal. If the images or tables of other authors appearing in other publications are used, the author must ask permission of the copyright owner before publishing.