ความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Tippawan Wiseddee -

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจของครู, ทักษะในศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2566 จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)  5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) การทดสอบ t-test (Independent Samples Test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance)

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก( 𝑥̅= 4.26) โดยด้านทักษะความร่วมมือมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด  ด้านทักษะความร่วมมือ( 𝑥̅= 4.32)  ด้านทักษะวิสัยทัศน์( 𝑥̅= 4.27)  ด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์( 𝑥̅= 4.23)  และด้านทักษะการสื่อสาร( ( 𝑥̅= 4.20) ตามลำดับ 2) ความพึงพอใจของครูต่อทักษะศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่ 15 สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตาม เพศ อายุ และระดับการศึกษาไม่แตกต่างกัน

References

กรรณิการ์ เรดมอน. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,หน้า 3.

ชัยวัฒน์ เทวะธีรารัตน์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

ฐนพร จันทร์มั่น, ธีรวุธ ธาดาตันติโชค และณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง. (2564). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กันยายน – ธันวาคม2564, หน้า 205-218.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปาริชาติ ชูปฏิบัติ. (2554). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

พะยอม วงศ์สารศรี. (2547). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2555). คุณภาพเริ่มจากผู้บริหาร. วารสารบริหารการศึกษา มศว (ฉบับพิเศษ), ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม – ธันวาคม 2555, หน้า 43-52.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). นวัตกรรมกับกระบวนทัศน์การศึกษาศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วีรยุทธ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,หน้า 59.

ศรสวรรค์ บุญณกรณ์ชัย. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนทวีธาภิเศก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี,หน้า 1.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (2561 - 2580). กรุงเทพมหานคร: สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี,หน้า 22-23.

สุภาวดี จันทะลับ. (2553). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาลตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรรณพ พงษ์วาท. (2540). ผู้บริหารกับการพัฒนาการศึกษา อะไร ทำไม อย่างไร. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,หน้า 58.

อรวรรณ์ วงศ์ตุ่น. (2560). คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

อรุณรัตน์ พิกุลทอง. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Katz, R. L. (2005). Skills of an effective administrators. Harvard Business Review. n.p.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18