ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ ของครูใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

ผู้แต่ง

  • setthaphum faenglap -

คำสำคัญ:

ความเป็นมืออาชีพ, ศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้ออยู่ระหว่าง .67–1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test independent) การวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD

               ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( 𝑥̅= 4.40) เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ( 𝑥̅= 4.47) ด้านภาวะผู้นำ ( 𝑥̅= 4.39) ด้านวิสัยทัศน์( 𝑥̅= 4.37) และด้านบริหารจัดการ ( 𝑥̅= 4.35)  และ 2) ผลการเปรียบเทียบความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียน พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน  จำแนกตามอายุและประสบการณ์ในการทำงานในรายด้านมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05  ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านภาวะผู้นำ และด้านคุณธรรม จริยธรรม  

References

กุสุมา ยี่ภู่. (2553). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่พึงประสงค์ในทรรศนะของครูโรงเรียนชุมชนวัดบางไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิด, สาขาวิชาการจัดการการศึกษา,มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

จุฑามาศ ภู่สง่า. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่3).กรุงเทพมหานคร : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพมหานคร: ทิพยวิสุทธิ์ .

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2565). ข้อมูลบุคลากร ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นจาก http://www.cad.go.th, สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ.2566

สุมลฑา เพชรใส. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยุคการศึกษา 4.0. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนสิงหาคม 2562, หน้า 3111-3123.

สมชาย วิมลโสภารัตน์. (2553). การขาดประสิทธิภาพในการทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อดิลัน กือซา. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ.ทุ่งยางแดงจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Fullan, M. (2015). The New Meaning of Educational Change. Teachers College Press, United States.

Leithwood, K., & Jantzi, D. (2005). Transformational Leadership. In B. Davies (Ed.), The Essentials of School Leadership. United Kingdom, SAGE Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18