ธรรมาสน์ล้านนา: อัตลักษณ์ ภูมิปัญญา และสุนทรียศาสตร์มรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • Chantarat Tapuling Lamphun buddhist callege

คำสำคัญ:

ธรรมาสน์ล้านนา, ภูมิปัญญา, สุนทรียศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสำรวจ วิเคราะห์ประวัติความเป็นมาและอัตลักษณ์ของธรรมาสน์ล้านนา 2) เพื่อวิเคราะห์สุนทรียศาสตร์ที่ปรากฏในภูมิปัญญาการสร้างสรรค์ธรรมาสน์ล้านนา และ 3) เพื่อพัฒนากระบวนการเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาสร้างสรรค์ธรรมาสน์ล้านนา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ในพื้นที่วัด 2 แห่ง ได้แก่ วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และวัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยใช้การศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน และการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 รูป/คน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาด้วยการพรรณนาบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า 1) ธรรมาสน์ล้านนามีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 - 25 โดยสอดคล้องกับปรัชญาและคติธรรมทางพระพุทธศาสนา มีโครงสร้างแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ฐาน เรือนเทศน์ และหลังคา แต่ละส่วนแฝงความหมายเชิงศาสนา เช่น การแกะสลักลวดลายดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการพ้นจากกิเลส และลวดลายนาคที่สื่อถึงการปฏิบัติอุโบสถศีลอย่างเคร่งครัด ธรรมาสน์บางหลังยังมีลวดลายเทวดาที่สื่อถึงการบูชาพระธรรมของเทวดา ซึ่งจัดเป็นอามิสบูชา สะท้อนความเชื่อของชาวล้านนาในเรื่องการสร้างบุญกุศล 2) สุนทรียศาสตร์ที่ปรากฏในธรรมาสน์ล้านนา มีความโดดเด่นด้านการออกแบบและตกแต่ง โดยลวดลายต่าง ๆ ลายดอกบัวที่สื่อถึงการตรัสรู้ ลายเถาวัลย์ที่แสดงถึงการเติบโต และลายเมฆที่สื่อถึงการหลุดพ้นจากความทุกข์ เป็นลวดลายที่ถูกออกแบบมาอย่างประณีตเพื่อสะท้อนคติธรรมที่ลึกซึ้ง นอกจากนี้ การจัดวางและออกแบบธรรมาสน์ยังถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมบรรยากาศในการปฏิบัติธรรมและการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ลวดลายและสัญลักษณ์ที่ใช้ในการตกแต่งธรรมาสน์ช่วยส่งเสริมบรรยากาศแห่งการปฏิบัติธรรมอย่างสมบูรณ์ และ 3) การพัฒนากระบวนการเผยแพร่และถ่ายทอดภูมิปัญญาการสร้างธรรมาสน์ล้านนา มุ่งเน้นการอนุรักษ์ศิลปกรรมผ่านการฝึกอบรม การจัดกิจกรรม และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปยังสังคมในวงกว้าง นิทรรศการและการแสดงศิลปกรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสนใจและกระตุ้นการอนุรักษ์ศิลปกรรมล้านนาในยุคปัจจุบัน

References

กาญจนา ชลศิริ และวัชระ กว้างไชย์. (2561). การอนุรักษ์นาคทันต์และธรรมาสน์บุษบกล้านนา. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า140.

ทรงพันธ์ วรรณมาศ. (2546). ปราสาท-ธรรมาสน์ในเขตจังหวัดเชียงรายและพะเยา.รายงานวิจัย. ภาควิชาภาษาไทย, คณะวิจิตรศิลป์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หน้า 84-91

นพดณ ปัญญาวรทัต และคณะ. (2563). การส่งเสริมและอนุรักษ์การสร้างสรรค์ศิลปะของวัดและชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา. รายงายวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 35

พระพีร์ญาภพพ์ ธารพนาลี และคณะ. (2563). จากปราสาทศพสู่ธรรมาสน์ล้านนา.วารสารมนุษยศาสตร์, ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม, 49-59

พระมหาจรัญ ยาวินัน. (2549) .ศึกษาเรื่องธรรมาสน์พื้นเมืองจังหวัดลำปาง. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาศิลปากร, หน้า 43-46

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2527) . ศิลปหัตถกรรมภาคต้น. กรุงเทพมหานคร: ปาณยา, หน้า147.

สุรศักดิ์ เจริญวงศ์. (2535). 81 ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร. กรุงเทพมหานคร : ฉลองรัตนโกสินทร์ กองโบราณคดี, หน้า 11

สุรัสวดี อ๋องสกุลและรัสวดี อ๋องสกุล. (2549). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์,หน้า 259.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2547). โบราณสถาน-โบราณวัตถุวัดในล้านนา. สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏชียงใหม่,หน้า 109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-18