คุณลักษณะการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน บุคลากรสำนักข่าวกรองแห่งชาติ
คำสำคัญ:
การทำงานเป็นทีม, ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน, สำนักข่าวกรองแห่งชาติบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) 2) ระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสขช. 3) คุณลักษณะการทำงานเป็นทีมด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสขช. 4) ปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสขช. การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1) ข้าราชการใน สขช. จำนวน 202 คน และ 2) ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการส่วน จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านคุณลักษณะการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสขช. ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานบุคลากรสขช.ในภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด 3) คุณลักษณะการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสขช. ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ การกำหนดบทบาทของสมาชิกอย่างสมดุลและชัดเจน การพัฒนาตนเอง และการติดต่อสื่อสารที่ดี สมการพยากรณ์ความมีอิทธิพลต่อกัน สามารถพยากรณ์ทำนายได้ร้อยละ 73.5 4) ปัญหาที่พบ คือ (1) บุคลากรส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะคือ หน่วยงานควรเสริมสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นและทันสมัยกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงให้แก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเชิงลึกและสร้างการเรียนรู้ให้แก่บุคลากร (2) สมาชิกของทีมมีส่วนร่วมในการวางแผนงานและการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ค่อนข้างน้อย ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานควรเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในการวางแผนการทำงาน
References
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งส์.
จีรภัทร์ สุวรรณพุ่ม. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาการรถไฟแห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).
จิระพงค์ เรืองกุน. (2562). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. นนทบุรี: เนชั่นไฮย์ 1954.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2547). KPI & Balanced Scorecard กับการบริการงานภาครัฐ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 2(2), 12-14.
พรรณพิตรา เสริมศรี. (2559). การศึกษาความคิดเห็นลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ:กรณีศึกษา ข้าราชการสำนักกรรมธิการ 3 สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2551). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ: ภาพรวมระบบบริหารผลงานและระบบประเมินผลการปฏิบัติราชการ. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. สืบค้น 9 กันยายน 2563, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb01.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2562. สืบค้น 9 กันยายน 2563, จาก https://psdg.mof.go.th/th/view/attachment/file/3134393832/เกณฑ์_PMQA_2562.pdf
สุขุมวิทย์ ไสยโสภณ. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. ขอนแก่น: เพ็ญพริ้นติ้ง
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2559). องค์การสมัยใหม่ สู่องค์การสมรรถะสูง (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
Peterson, E., & Plowman, G.E. (1953). Business Organization and Management (3rd ed.). Homewood, Ill.: R.D. Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ