การพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้สถานการณ์จำลอง ในผู้ลี้ภัยผู้ใหญ่ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กรแก้ว พิเมย หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สุพินดา เลิศฤทธิ์ สาขาวิชาการศึกษาระบบสองภาษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การพูดภาษาอังกฤษ, สถานการณ์จำลอง, ผู้ลี้ภัยผู้ใหญ่

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ ในกลุ่มผู้ลี้ภัยผู้ใหญ่ และ 2) เพื่อพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้สถานการณ์จำลอง ในกลุ่มผู้ลี้ภัยผู้ใหญ่ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในกลุ่มผู้ลี้ภัยผู้ใหญ่ เชื้อชาติปากีสถาน เวียดนาม อัฟกันนิสถาน อายุระหว่าง 17-40 ปี ซึ่งได้รับเอกสารการขึ้นทะเบียนขอสถานะเป็นผู้ขอลี้ภัยชั่วคราวในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัย ที่มีปัญหาและข้อจำกัดด้านการพูดภาษาอังกฤษ จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบทดสอบทักษะการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลัง แบบประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษตามสภาพจริง โดยใช้กิจกรรมสถานการณ์ด้วยเกณฑ์ประเมินแบบรูบริคส์ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test  

            ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มผู้ลี้ภัยผู้ใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดสอบสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้สถานการณ์จำลอง อยู่ที่ 17.86 คะแนน (gif.latex?\chi&space;\bar{} = 17.86, S.D.=3.0) สูงกว่าหลังการใช้กิจกรรม 9.73 คะแนน (gif.latex?\chi&space;\bar{} = 9.73, S.D.=1.16) ผู้ลี้ภัยผู้ใหญ่มีการพัฒนาความสามารถการพูดภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น และ 2) ผลการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดีเยี่ยม ใน 2 หัวข้อ ได้แก่ หัวข้อการประเมินเรื่อง Making appointments ที่ค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 4.9 (gif.latex?\chi&space;\bar{} = 4.9, S.D. = 0.39) และหัวข้อ Buying goods and services ที่ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.8 (gif.latex?\chi&space;\bar{}= 4.8, S.D. = 0.42) อันดับถัดไปที่อยู่ในเกณฑ์ระดับดี คือ ในหัวข้อการประเมินเรื่อง Using the telephone ที่ค่าเฉลี่ย 3.9 (gif.latex?\chi&space;\bar{} = 3.9, S.D. = 0.17) และหัวข้อ Using public transport ที่ค่าเฉลี่ย 3.9 (gif.latex?\chi&space;\bar{} = 3.9, S.D. = 0.24) โดยไม่ปรากฏว่าผลวิจัยการประเมินทักษะการพูดภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับอื่นที่ต่ำกว่านี้อีก

References

จิตพิสุทธิ์ จันตะคุต.(2560). ความสำคัญของการสื่อสารภาษาอังกฤษ. สืบค้น 24 พฤษภาคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/krujitpisut/khwam-sakhay-khxng-phasa-xangkvs

ทิศนา แขมณี. (2552). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งชาติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เนาวะรัตน์ ถาวร. (2546). ผลของการใช้สถานการณ์จําลองที่มีต่อความมีน้ำใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนกุหลาบวัฒนา เขตสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ประภัสรา โคตะขุน. (2560). วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. สืบค้น 18 กันยายน 2562, จาก https://sites.google.com/site/prapasara/f4-1

เพ็ญศรี ประทุมรุ่ง. (2542). ผลของการใช้สถานการณ์จําลองและการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรที่มีต่อมารยาทในการรับประทานอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก อําเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษนำไปสู่การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

พวงมณี ตันติวงศ์. (2550). การใช้สถานการณ์จำลองในการสอนภาษาอังกฤษท่องเที่ยว (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ระวิ แก้วสุกใส. (2560). ศาสตร์การสอน: วิธีสอนการใช้สถานการณ์จำลอง. สืบค้น 14 มีนาคม 2562, จาก http://rawikaewsuksai.blogspot.com/2012/12/simulation-2552-370-373.html

อภิชัย ธิณทัพ. (2560). ความหมายของการพูด. สืบค้น 28 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/207358

อัญชลี ยิ่งรักพันธุ์. (2550). ผลการใช้สถานการณ์จำลองผสานกับเทคนิคการประเมินตามสภาพจริง เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Angelini, M. L., & GarcĆa-Carbonell, A. (2019). Developing English Speaking Skills through Simulation-Based Instruction. Teaching English with Technology, 19(2), 3-20.

Ayudhya, P. S. N. (2015). Effectiveness of simulation in developing English communicative speaking skill in learners with different English proficiency. Simulation/Gaming for Learning Development. Journal of Simulation/Gaming for Learning and Development, 1(1), 22-33.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. In Archives of Psychology (no. 140, p. 5-55). New York: The Science Press.

Smith, M. & Cushion, C. J. (2006). An Investigation of the In-Game Behaviours of Professional, Top-Level Youth Soccer Coaches. Journal of Sports Sciences, 24(4), 355-366.

UNHCR. (2006). Analysis of Gaps in Refugee Protection Capacity - Thailand. Retrieved 10 May 2019, from https://www.unhcr.org/protection/convention/457ed0412/analysis-gaps-refugee-protection-capacity-thailand.html

UNHCR. (2020). UNHCR Thailand Fact Sheet. Retrieved 30 September 2020, from https://www.unhcr.org/th/wp-content/uploads/sites/91/2020/11/UNHCR-Thailand-Fact-Sheet_30-September-2020.pdf

Urban Refugee. (2014, 14 August). Bangkok, THAILAND. Retrieved 10 May 2019, from http://urban-refugees.org/bangkok

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31