เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาการศึกษา นันทบุรี อำเภออมก๋อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 5

ผู้แต่ง

  • ธีระภัทร ประสมสุข สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • เพ็ญพรรณ แสงเนตร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • สิทธิชัย มูลเขียน สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ธรรมรส โชติกุญชร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ชัชรินทร์ ชวนวัน สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • ทศพร สายทอง หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารสถานศึกษา, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลของโรงเรียนในเครือข่ายพัฒนาการศึกษานันทบุรี อำเภออมก๋อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 5 วิธีดำเนินการวิจัยเป็นวิจัย เชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 113 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล อยู่ในระดับมาก รองลงมาด้านการตรวจสอบข้อมูลอยู่ในระดับมาก ด้านการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศอยู่ในระดับมาก ด้านการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการประมวลผลข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

            ปัญหา คือ การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างล่าช้าไม่ทันเวลา ไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลที่ตรวจสอบพบความผิดพลาด อุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลไม่ทันสมัย มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอข้อมูลค่อนข้างน้อย ไม่มีระบบการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศที่สะดวกและรวดเร็ว

            ข้อเสนอแนะ คือ ผู้ปฏิบัติงานให้ความร่วมมือ ควรจัดตั้งหน่วยตรวจสอบข้อมูล ควรปรับปรุงระบบการประมวลผลที่ทันสมัย จัดเก็บข้อมูลเป็นปัจจุบัน อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยง่ายต่อการใช้งาน ระบบการจัดเก็บ การสืบค้น ข้อมูลที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

References

นันทนา บริรักษ์. (2550). การดำเนินงานระบบสารสนเทศของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาอมก๋อยจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยูไฮนี บากา และ รพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ. (2564). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษายะลา เขต 3. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 11 (น. 1273). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สมจิตร ขวัญแดง. (2560). สภาพปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8 (น. 59). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุกัญญา โถสุวรรณ์. (2553). การศึกษาสภาพการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

สุชีรา จินดาวงค์. (2550). การดำเนินงานระบบสารสนเทศของโรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อมรรัตน์ พวงทอง. (2555). แนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหารงานโรงเรียนบ้านวังลุง เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31