การพัฒนายุทธศาสตร์สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • โชคชัชกาญ ราชฟู หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • จำเนียร ราชแพทยาคม สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นพดล อุดมวิศวกุล สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การพัฒนายุทธศาสตร์, สำนักงานประชาสัมพันธ์, จังหวัดแพร่

บทคัดย่อ

                บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ และ 3) เสนอแนะยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษาจำนวน 20 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ จำนวน 7 คน  และบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดแพร่ จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาแบบสามเส้า พรรณนาโดยวิธีการสรุปอุปนัย

            ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ที่พบคือ รัฐบาลและจังหวัดแพร่ ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์เป็นอย่างมาก โดยให้ดำเนินการสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐทุกรูปแบบอย่างถูกต้อง ทั่วถึง ต่อเนื่อง และรวดเร็ว ปัจจุบันสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ ได้ผลิตสื่อหลากหลายรูปแบบ ใช้ช่องทาง สื่อออนไลน์ และสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์เป็นหลัก แต่ยังไม่มีการวางแผนยุทธศาสตร์และเป้าหมายที่ชัดเจน 2) สภาพแวดล้อมภายในที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายุทธศาสตร์ ประกอบด้วย กลยุทธ์ โครงสร้างองค์การ สไตล์การทำงานของผู้บริหาร ระบบงาน บุคลากรในหน่วยงาน ทักษะ ค่านิยมองค์การส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วย นโยบายของรัฐบาล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ปัญหาที่พบ คือ องค์การยังไม่มีระบบพัฒนายุทธศาสตร์ที่ชัดเจน และปรับตัวไม่ทันตามสื่อสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 3) เสนอแนะประเด็นยุทธศาสตร์ของสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ในอนาคต 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างศักยภาพการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์อย่างยั่งยืน

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2563ก). แผนปฏิบัติราชการกรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2563-2580 และแผนปฏิบัติราชการกรมประชาสัมพันธ์ ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563-2565) ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี.

กรมประชาสัมพันธ์. (2563ข). คู่มือ “การเสนอข่าว ‘ข่าวลวง’ และข้อมูลบิดเบือน”. กรุงเทพฯ: องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ.

กฤษณี มหาวิรุฬห์. (2546). แนวคิดการบริหารแบบ Balanced Scorecard. วารสารจดหมายข่าว สป.มท., 16(155), 28-33.

ชาญณรงค์ สุราสา. (2550). ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันของโรงเรียนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดวงพร โสติถิมานนท์. (2545). ประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์วัสดุรีไซเคิลชุมชน เขตบางกะปิ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2547). KPI & Balance Scorecard กับการบริหารงานภาครัฐ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 2(2), 1-14.

นิตยา เงินประเสริฐศรี. (2547). การบริหารเชิงกลยุทธ์: คู่มือสู่การปฏิบัติ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 30(3), 145-176.

รุจา รอดเข็ม. (2547). การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การ ของวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประยุกต์ตามแนวทางการประเมินองค์การแบบสมดุล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริญญา ทิพย์โสต. (2545). การประเมินประสิทธิผลการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานจังหวัดแพร่. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดแพร่ พ.ศ.2561-2565. แพร่: กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัดแพร่ สำนักงานจังหวัดแพร่.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนาหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

Voicetv. (2561 ,27 พฤศจิกายน). สื่อในยุคดิจิทัล เน้นผสมผสาน 'ออฟไลน์' และ 'ออนไลน์'. สืบค้น 12 ธันวาคม 2563, จาก https://voicetv.co.th/read/HJxrXh9Am

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31