การประยุกต์ใช้หลักพุทธปรัชญาในการปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชน ประจำตำบลมะเขือเเจ้ เขต 3 อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกาวรัญญู วรปญฺญาเมธี (ประทีปทอง) หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ทรงศักดิ์ พรมดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูสมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การประยุกต์ใช้, การปฏิบัติงาน, หลักพุทธปรัชญา, หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธปรัชญาในการปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลมะเขือเเจ้ เขต 3 อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 2) เพื่อศึกษาปัญหาการประยุกต์ใช้หลักพุทธปรัชญาในการปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลมะเขือเเจ้ เขต 3 อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการประยุกต์ใช้หลักพุทธปรัชญาในการปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลมะเขือเเจ้ เขต 3 อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยที่ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เอกสารขั้นปฐมภูมิและแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 รูป/คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมกับกลุ่มตัวแทนผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

               ผลการวิจัยพบว่า 1) การประยุกต์ใช้หลักพุทธปรัชญา 8 ด้านนั้น เป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสังคมโดยตรง คือทำให้สังคมเกิดความสงบ มีความรักใคร่สามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้ประชาชนได้ปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่อเกิดความเจริญก้าวหน้าในสังคม ทั้งการนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาใช้เป็นธรรมที่ยึดเหนี่ยวใจบุคคลและประสานหมู่ชนให้เกิดความสามัคคี 2) ปัญหาการประยุกต์ใช้หลักพุทธปรัชญาในการปฏิบัติงาน ในปัจจุบันประชาชนไม่สนใจในด้านของพุทธปรัชญามากนัก จึงทำให้สังคมเกิดปัญหาต่างๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปลูกฝังเยาวชนให้เข้าใจในเรื่องพุทธปรัชญาให้ฝังรากลึกลงไปในจิตใจ 3) แนวทางการพัฒนาการประยุกต์ใช้หลักพุทธปรัชญาในการปฏิบัติงาน โดยการนำเอาหลักพุทธปรัชญา 8 ข้อไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ให้เหมาะสมกับสภาพบุคคล เวลา สถานที่ บริบท และวิถีชุมชน อีกทั้งควรหาเทคนิค วิธีการ และเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และนำไปประยุกต์ใช้ในแต่ละหน่วยงาน หรือสถาบันของตน โดยใช้วิธีตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและความเป็นอยู่ในสังคมที่ดีขึ้น

References

คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการปรองดองสมานฉันท์. (2557). คู่มือการดำเนินงานโครงการปรองดองสมานฉันท์.กรุงเทพฯ: อัพทรูยู คลีเอทนิว.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: พิมพ์อำไพ. 2534.

สุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. (2553). พระพุทธศาสนากับการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระครูกิตติวรานุวัตร. (2561). บทบาทพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(3), 468-487.

พระมหานัทกฤต ทีปงฺกโร (ปทุมมารัชเชปัณณ์). (2560). บทบาทพระสงฆ์กับการสร้างสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี : กรณีชุมชนบ้าน ห้วยน้ำขาว ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรีวารสาร. ศิลปะการจัดการ, 1(2), 55-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31