ศึกษาความเป็นเอกลักษณ์ในการสื่อสารเทศนาธรรมของพระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน)

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดธีร์นวัช ญาณสิทฺธิวาที (ตาเป็ง) หลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูวิทิตศาสนาทร (เกษม อุปสนฺโต) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

พระราชธรรมวาที, การสื่อสารเทศนาธรรม, ศึกษาเอกลักษณ์รูปแบบ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาประวัติเเละผลงานของพระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) เพื่อศึกษารูปแบบการเทศนาธรรมของพระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) และเพื่อศึกษาความเป็นเอกลักษณ์รูปแบบการสื่อสารเทศนาธรรมของพระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) ใช้การศึกษาและวิเคราะห์เอกสารขั้นปฐมภูมิและขั้นทุติยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

พบว่า เอกลักษณ์ของพระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) “พระนักเทศน์” “นักเทศน์ลีลาสาลิกาป้อนเหยื่อ” และ “สาลิกาลิ้นธรรม” เป็นต้นแบบและสื่อบุคคลที่มีความชำนาญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้ประยุกต์เนื้อหาสาระที่เข้าใจยากและไม่เป็นที่น่าสนใจทำให้มีเนื้อหาสาระที่เข้าใจง่ายเป็นที่น่าสนใจ ในฐานะผู้ส่งสาร จึงถือเป็นองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่อการทำให้สารไปถึงผู้รับสาร เพื่อประยุกต์หลักธรรมะให้เข้ากับชีวิตประจำวัน สารที่มีผลต่อความสำเร็จประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือรหัสสาร เนื้อหาของสาร และการจัดเรียงลำดับสารในการสื่อสารเพื่อเผยแผ่พุทธธรรม ความชำนาญด้านการใช้สื่อต่างๆ เพื่อการเผยแผ่พุทธธรรม ผู้รับสารส่วนมากจะเป็นประชาชนโดยทั่วไป การนำเสนอเนื้อหาในการพูดและการเขียนมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน นำเสนอเนื้อหาสาระด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย สละสลวย สุภาพอ่อนโยน มีน้ำเสียงที่ชวนฟัง การสื่อสารในแต่ละครั้งประกอบไปด้วยคุณสมบัติลักษณะองค์ประกอบของการสื่อสาร 4 ประการอย่างครบถ้วน และมีหน้าที่โน้มน้าวใจให้พุทธศาสนิกชนให้เชื่อถือหรือเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การเทศนาในรูปแบบการเผยแผ่ธรรมะมีส่วนร่วมจากการเรียนรู้โดยผ่านการสังเกต ประกอบด้วย 4 ขั้น คือ 1) ขั้นความสนใจ 2) ขั้นการจดจำ 3) ขั้นการกระทำ และ4) ขั้นแรงจูงใจ อาจเป็นเพราะพระราชธรรมวาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน) ถือเป็นต้นแบบที่ดี

References

คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาจิต สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย. (2528). มิติใหม่ของการพัฒนาจิต. กรุงเทพฯ: ประเทืองวิทย์.

ปราณี ศิริจันทพันธ์. (2523). สัมพันธภาพระหว่างพุทธศาสนากับสังคมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปนัดดา นพพนาวัน. (2533). การศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อเผยแพร่ธรรมะของสถาบันสงฆ์ไทย. (วิทยานิพนธ์นิปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). พุทธวิธีในการสอน. นครปฐม: เบิกม่าน.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พระมหาบุญเลิศ ธมฺมทสฺสี. (2543). ศึกษาวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระราชวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระวุฒิกรณ์ วุฑฺฒิกรโณ. (2543). ศึกษาเทคนิคและวิธีการเผยแผ่พุทธธรรมของพระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาอรุณ จิตฺตคุตฺโต. (2544). ศึกษากระบวนการสื่อสารเพื่อเผยแผ่พุทธธรรมของสวนโมกขพลาราม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาศรัญญู ปญฺญาธโร. (2546). การศึกษาหลักการและวิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสุธรรมยานเถระ (ครูบาอินทจักรรักษา). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

พระมหาธรรมรัต อริยธมฺโม และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสังฆาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุธี พลพงษ์ และคณะ. (2550). สื่อและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสง จันทร์งาม. (2511). พุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2540). พุทธวิธีสอนจากพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: เพชรรุ่งการพิมพ์.

สิทธิ์ บุตรอินทร์. (2533). พระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31